ในการขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้าไปสู่วิสัยทัศน์และตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ ธสน. ได้ปรับปรุงยุทธศาสตร์องค์กร เพื่อให้สามารถตอบสนองสภาพแวดล้อมภายนอกและนโยบายภาครัฐมากขึ้น และรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยมุ่งสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้แข่งขันได้ในเวทีโลก อันเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการทุกขนาดในห่วงโซ่มูลค่าให้เติบโตไปด้วยกัน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยบนพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โดยแผนยุทธศาสตร์ ธสน. ระยะ 5 ปี (ปี 2568-2572) ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1

    1

    ยกระดับธุรกิจไทยสู่เศรษฐกิจที่เป็น ESG
    (Sustainable Growth Escalator)

    ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ คือ (1.1) สนับสนุนสินเชื่อสำหรับธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในอุตสาหกรรมสีเขียวและสีน้ำเงิน (Green Economy and Blue Economy) และกิจการเพื่อสังคม (1.2) เป็นกลไกในการยกระดับการบริหารจัดการธุรกิจสู่ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร โดยมีแผนปฏิบัติการ 2 แผนงาน ได้แก่(1.1-1) บริหารจัดการ ESG Portfolio และ (1.2-1) สร้างผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน (ESG Expert) และศึกษาแนวทางการให้คำปรึกษา/ความช่วยเหลือทางเทคนิค (Technical Assistance) ด้าน ESG
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2

    2

    ผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศให้แข่งขันได้และเติบโตในตลาดโลก
    (S-curve Stimulator)

    ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์ คือ (2.1) สนับสนุนการลงทุนและการส่งออกในอุตสาหกรรม S-curve เพื่อยกระดับภาคการผลิตของไทย โดยมีแผนปฏิบัติการ 3 แผนงาน ได้แก่ (2.1-1) ขยายสินเชื่อและภาระผูกพันในกลุ่มเป้าหมายภาคอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน (2.1-2) ศึกษาโอกาสและกลยุทธ์ทางธุรกิจในประเทศเป้าหมาย และ (2.1-3) ศึกษารูปแบบการมีบทบาทของ ธสน. ในประเทศเป้าหมายที่มีศักยภาพ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3

    3

    สนับสนุนธุรกิจบริการไทยสู่ตลาดโลกเพื่อสร้างมูลค่าใหม่
    (Service Sector & Soft Power Promoter)

    ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์ คือ (3.1) ผลักดันการพัฒนา การลงทุน และการส่งออกในธุรกิจบริการที่มีศักยภาพสูง เช่น เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) สุขภาพ ท่องเที่ยว โลจิสติกส์ โดยมีแผนปฏิบัติการ 1 แผนงาน ได้แก่ (3.1-1) ขยายสินเชื่อและภาระผูกพันในกลุ่มเป้าหมายธุรกิจบริการไทยในตลาดโลก
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4

    4

    เสริมสร้างขีดความสามารถให้อุตสาหกรรมเกษตรและเกษตรแปรรูป
    (Smart Agro-industry Value Creator)

    ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์ คือ (4.1) สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของผู้ประกอบการภาคเกษตรและเกษตรแปรรูปตลอดห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain)และการขยายตลาดในต่างประเทศ โดยมีแผนปฏิบัติการ 1 แผนงาน ได้แก่ (4.1-1) สนับสนุนสินค้าในอุตสาหกรรมอาหารและอาหารแปรรูปรองรับตลาดการส่งออก
  • ยุทธศาสตร์ที่ 5

    5

    สนับสนุนทางการเงินและไม่ใช่การเงินแก่ผู้ประกอบการขนาดการและขนาดย่อม
    (SME Synergizer)
     

    ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ คือ (5.1) เพิ่มการเข้าถึงทางการเงินของผู้ประกอบการไทยผ่านการบูรณาการกับพันธมิตร และ (5.2) พัฒนาความรู้ความสามารถผู้ประกอบการครบวงจร โดยมีแผนปฏิบัติการ 3 แผนงาน ได้แก่ (5.1-1) สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการบูรณาการกับพันธมิตร (5.1-2) แยกการดำเนินงานระดับฝ่ายของสายงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ (5.2-1) สร้างเสริมศักยภาพผู้ส่งออกสู่ตลาดเป้าหมายอย่างครบวงจร
  • ยุทธศาสตร์ที่ 6

    6

    ป้องกันความเสี่ยงด้านการค้าการลงทุนไทยในต่างประเทศ
    (Safeguard for Entrepreneur)
     

    ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์ คือ (6.1) ป้องกันความเสี่ยงการค้าการลงทุนแก่ผู้ประกอบการไทย โดยมีแผนปฏิบัติการ 6 แผนงานได้แก่ (6.1-1) จัดกิจกรรมสำหรับลูกค้ารับประกันเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม (6.1-2) สร้างการรับรู้และความตระหนักถึงความสำคัญของบริการประกันให้กับผู้ประกอบการและบุคลากรภายในธนาคาร (6.1-3) ประชาสัมพันธ์บริการประกันการส่งออกระยะกลางและระยะยาวและประกันความเสี่ยงการลงทุน (6.1-4) พัฒนาระบบสนับสนุนการดำเนินงานด้านประกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (6.1-5) ทบทวนการจัดหาองค์กรข้อมูลเพื่อให้ได้บริการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และ (6.1-6) ศึกษารูปแบบการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลผู้ซื้อของ ธสน. โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร
  • ยุทธศาสตร์ที่ 7

    7

    ขับเคลื่อนการจัดการภายในองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน
    (Sustainable Organization Driver)
     

    ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ (7.1) เสริมสร้างฐานะการเงินที่มั่นคง เพิ่มเติมแหล่งระดมทุนใหม่ ๆ ควบคู่กับการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างรัดกุม (7.2) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการให้บริการลูกค้าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล (7.3) ยกระดับความผูกพันและผลิตภาพของบุคลากรและ (7.4) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรภายในองค์กร (Eco-efficiency) และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีแผนปฏิบัติการ 10 แผนงาน ได้แก่ (7.1-1) สร้างกลไกป้องกันสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสายงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (7.1-2) ปรับปรุงแนวทางการติดตามและการจัดการพอร์ตด้านเครดิต (7.1-3) สร้างรายได้จากการดำเนินงานด้านวาณิชธนกิจ (7.1-4) สร้างรายได้ผ่านบริการเงินตราต่างประเทศ (7.2-1) พัฒนาระบบงานหลักของธนาคารระยะที่ 2 (7.2-2) ประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อสร้างและจัดการองค์ความรู้ในธนาคาร (7.2-3) ศึกษาการยกระดับธนาคารดิจิทัล (Digital Banking) ของ ธสน. (7.3-1) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพนักงานที่มีศักยภาพสูงและการสืบทอดตำแหน่ง (7.3-2) จัดตั้ง Corporate University เพื่อยกระดับงานพัฒนาบุคลากร และ (7.4-1) มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)