exim-plan-66.png

ในการขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้าไปสู่วิสัยทัศน์และตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ใหม่ที่กำหนดไว้ ธสน. ได้ปรับปรุงยุทธศาสตร์องค์กร เพื่อให้สามารถตอบสนองสภาพแวดล้อมภายนอกและนโยบายภาครัฐมากขึ้น และรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยมุ่งสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผลักดันการลงทุนเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้แข่งขันได้ในเวทีโลก อันเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการทุกขนาดในห่วงโซ่มูลค่าให้เติบโตไปด้วยกัน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยบนพื้นฐานที่แข็งแกร่งโดยแผนยุทธศาสตร์ ธสน. ระยะ 5 ปี (ปี 2566-2570) ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1

    1

    เป็นกลไกสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจไทยตลอดห่วงโซ่มูลค่าธุรกิจส่งออก
    (Value-added Integrator) 


    ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ คือ (1.1) เพิ่มมูลค่าการส่งออกของผู้ส่งออกไทยสู่ตลาดโลกผ่านกลไก เช่น Business Matching และ Value Chain Financing และ (1.2) ขยายการสนับสนุนผู้ส่งออกผ่านกลไก เช่น Two-step Lending 
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2

    2

    เป็นผู้นำการเข้าถึงทางการเงินธุรกิจผ่านการบูรณาการพันธมิตร
    SFIs (Syndication Arranger) 

     
    ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ คือ (2.1) เพิ่มการเข้าถึงทางการเงินผ่าน Co-lending และ (2.2) เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการด้วย Formula Lending 
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3

    3

    ผลักดันการขยายธุรกิจ New S-curve และธุรกิจบริการเพื่อสร้างมูลค่าใหม่
    (Soft Power and Growth Driver) 

     
    ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์ คือ (3.1) ผลักดันการพัฒนาและการลงทุนในธุรกิจศักยภาพสูง เช่น ดิจิทัล (Digital) สุขภาพ (Health) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และอื่น ๆ เพื่อสร้างอุตสาหกรรมหลักกลุ่มใหม่ของชาติ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4

    4

    ยกระดับธุรกิจไทยสู่เศรษฐกิจสีเขียว
    (End to End Net Zero Economy Escalator) 

     
    ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ คือ (4.1) สนับสนุนธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พลังงานสะอาด และเทคโนโลยีลด/กำจัดก๊าซเรือนกระจก (GHG) และ (4.2) เป็นกลไกในการยกระดับการบริหารจัดการธุรกิจต่อกติกาการค้าระหว่างประเทศใหม่
  • ยุทธศาสตร์ที่ 5

    5

    ผลักดันการลงทุนเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี
    ( Push & Pull Investment Aggregator)  

     
    ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ คือ (5.1) สนับสนุนการลงทุนเพื่อนำมาซึ่งการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูง (Technology Transfer) และความสามารถธุรกิจไทย รวมถึงโครงการรัฐต่อรัฐ (G2G) และโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP Deals) และ (5.2) สนับสนุนการลงทุนไทยในต่างประเทศ 
  • ยุทธศาสตร์ที่ 6

    6

    ยกระดับการจัดการภายในองค์กรให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง
    (Organizational Driver)  

     
    ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ (6.1) ยกระดับการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนรูปแบบธุรกิจในอนาคต (6.2) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการให้บริการลูกค้าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล (6.3) พัฒนาองค์ความรู้และผลิตภาพบุคลากรให้เท่าทันทักษะในยุคใหม่ และ (6.4) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรภายในองค์กร (Eco-efficiency) และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • ยุทธศาสตร์ที่ 7

    7

    สร้างศักยภาพและความมั่นใจแก่ผู้ประกอบการในการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ (Total Solution Provider)  

     
    ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ คือ (7.1) ป้องกันความเสี่ยงการค้าการลงทุนแก่ผู้ประกอบการไทย และ (7.2) พัฒนาความรู้ความสามารถผู้ประกอบการครบวงจร