นโยบายด้านการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบ

นโยบายด้านการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบ
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

 
  ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) กำหนดนโยบายและกรอบการพัฒนาที่เจาะจงเฉพาะมิติด้านการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Finance) เพื่อพัฒนาความยั่งยืนเชิงระบบอย่างครอบคลุม และเชื่อมโยงโครงสร้างผู้รับผิดชอบ แนวปฏิบัติเชิงพฤติกรรมและระบบการบริหารจัดการ ส่งเสริมและตรวจติดตามทั้งระบบการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบและระบบการจัดการความรับผิดชอบที่ไม่ใช่การเงินตามมาตรฐาน ISO 26000 อย่างบูรณาการ 
 
ธสน. กำหนดกรอบการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบ โดยประยุกต์ใช้กรอบมาตรฐานการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น Responsible Finance Framework, Responsible Banking Framework, Sustainable Banking Framework, ESG Framework, ISO 26000 การให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ และแนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรม เป็นต้น ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิบัติงานประจำวันตามบริบทของ ธสน. เพื่อเป็นกระบวนการส่งเสริมให้ ธสน. ก้าวสู่การเป็นธนาคารที่ยั่งยืนได้ตามเป้าหมาย โดยสามารถแสดงสาระสำคัญของหลักปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบได้ดังนี้
 
  • กรอบการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบที่ 1

    1
    การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบ (Good Corporate Governance, Risk and Compliance for Responsible Finance) 
     
    การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบ เป็นกรอบการดำเนินงานเพื่อสะท้อนให้เห็นบทบาทของคณะกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูงในการส่งเสริมให้ ธสน. มีระบบการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการ สังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องตามมาตรฐาน กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวปฏิบัติที่ดีที่หน่วยงานกำกับดูแลภาครัฐ รวมถึงภาคการเงินการธนาคารให้ความสำคัญและมุ่งให้ธนาคารทุกแห่งนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
  • กรอบการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบที่ 2

    2
    การบริหารจัดการการเงินโดยมุ่งปกป้องสิทธิ และเสริมสร้างประโยชน์ของผู้ใช้บริการ (Consumer Protection) 
     
    การบริหารจัดการการเงินโดยมุ่งปกป้องและรักษาประโยชน์ของผู้ใช้บริการ เป็นกรอบการดำเนินงานที่เน้นการกำหนดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวปฏิบัติที่ดีที่จะส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการทางการเงินอย่างเท่าเทียม โปร่งใส และเป็นธรรม โดยนำมาผนวกเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการให้สินเชื่อ การลงทุน และการเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินตามบริบทของ ธสน. สะท้อนการปกป้องและเพิ่มประโยชน์ทางการเงินอย่างยั่งยืนให้แก่กลุ่มผู้ใช้บริการเป้าหมายได้ต่อไป  
  • กรอบการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบที่ 3

    3
    การให้ความรู้ทางการเงินอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Financial Education)
     
    การให้ความรู้ทางการเงินอย่างมีความรับผิดชอบ เป็นกรอบการดำเนินงานที่เน้นพัฒนาแนวทางการให้ความรู้ทางการเงินแก่ผู้ใช้บริการและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเงินในระดับบุคคลให้เป็นไปอย่างมีความรับผิดชอบ ป้องกันการเกิดภาระหนี้เกินความสามารถในการจ่ายคืน ปกป้องผู้ใช้บริการจากพัฒนาการของตลาดเงิน และทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความมั่นใจในการขอรับบริการทางการเงิน ทำให้ระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศเติบโตอย่างมั่นคงและต่อเนื่องในระยะยาว เป็นไปตามเป้าหมายของการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบของ ธสน.
  • กรอบการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบที่ 4

    4
    การบริหารจัดการการเงินและการลงทุนทางการเงินที่นำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี (Responsible Finance for Environmental, Social and Governance Development)
     
    การบริหารจัดการการเงินและการลงทุนทางการเงินที่นำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี
    เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานที่มุ่งเน้นให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาว ครอบคลุมทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน โดยระบุแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงโอกาสด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่จะกระทบต่อผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Return) และผลตอบแทนทางสังคม (Social Return) กำหนดรายการสินเชื่อต้องห้าม (Exclusion List) เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการจัดการการเงินและการลงทุน และกำหนดรายการผลิตภัณฑ์และบริการที่ ธสน. ให้การสนับสนุนทางการเงิน (Inclusion List) โดยคำนึงถึงผลกระทบและประเด็นความกังวลหรือความท้าทายในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดีที่เกิดจากการปฏิบัติงานของ ธสน. รวมถึงอุตสาหกรรมการเงิน โดยไม่ขัดกับการปฏิบัติตามภารกิจของ ธสน.