HIGHLIGHTS
         ฟิลิปปินส์หลุดพ้นจากฉายาผู้ป่วยแห่งเอเชีย (The Sick Man of Asia) โดยก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในตลาดดาวรุ่งของอาเซียนจาก
เศรษฐกิจที่ขยายตัวสูงกว่า 6% ต่อปี ประกอบกับการขยายตัวของกลุ่ม Middle Class และสังคมเมือง
         • ฟิลิปปินส์ประกอบด้วยเกาะกว่า 7,000 เกาะ โดยศูนย์กลางทางเศรษฐกิจอยู่ที่กรุงมะนิลา เมืองท่องเที่ยวสำคัญ คือ เซบู
ส่วนพื้นที่อุตสาหกรรมหลักอยู่ที่ซูบิก ขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมสำคัญอยู่บริเวณเกาะลูซอน
         • โอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ มาจาก 3 แรงขับเคลื่อนสำคัญ ได้แก่
            1. โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Build Build Build)
            2. การขยายตัวของสังคมเมืองและ E-Commerce
            3. การปฏิรูปภาคอุตสาหกรรม
  ฟิลิปปินส์ (THE PHILIPPINES)  
           ที่ตั้ง : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
         เมืองสำคัญ : กรุงมะนิลา (เมืองหลวง/เมืองเศรษฐกิจ/เมืองท่า) เมืองดาเวา (เมืองเกษตรกรรม) เมืองเซบู (เมืองท่องเที่ยว)
         พื้นที่ทั้งหมด : 300,000 ตร.กม.
         ประชากร : 108.4 ล้านคน (ปี 2561)
         ภาษาราชการ : ภาษาฟิลิปปินส์ และภาษาอังกฤษ
         สกุลเงิน : เปโซฟิลิปปินส์ (PHP) 1 USD = 50.79 PHP (ณ 6 ธ.ค. 2562)
         ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
         ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ ปี 2561
            - GDP : 331 Bil.USD
            - มูลค่านำเข้ารวมของฟิลิปปินส์ : 115,038 Mil.USD
            - มูลค่าส่งออกของไทยไปฟิลิปปินส์ : 7,910 Mil.USD
            - สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปฟิลิปปินส์ : ยานยนต์แผงวงจรไฟฟ้า ข้าว เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก
              เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว
            - สถานเอกอัครราชทูตและสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของไทย : ตั้งอยู่ ณ กรุงมะนิลา
           ฟิลิปปินส์เคยถูกเรียกว่าเป็นผู้ป่วยแห่งเอเชีย (The Sick Man of Asia) เนื่องจากเศรษฐกิจซบเซาและมีปัญหาคอร์รัปชัน
มายาวนาน อย่างไรก็ตาม ฟิลิปปินส์ค่อย ๆ ฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี 2556 สถาบันจัดอันดับเครดิตชั้นนำของโลก ทั้ง
Standard & Poor's และ Fitch ปรับเพิ่มอันดับเครดิตของฟิลิปปินส์เป็น BBB- ซึ่งถือเป็นการก้าวขึ้นสู่ Investment Grade หรือ
ระดับลงทุนได้อีกครั้ง ปัจจุบันเศรษฐกิจฟิลิปปินส์เติบโตร้อนแรงกว่า 6% ต่อปี สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก (หนึ่งในแรงขับเคลื่อน
สำคัญมาจากการส่งเงินกลับของชาวฟิลิปปินส์ที่ไปทำงานต่างประเทศ มีสัดส่วนถึง 10% ของ GDP) จนทำให้ฟิลิปปินส์ก้าวขึ้นเป็น
ดาวรุ่งดวงใหม่ที่น่าจับตามองของอาเซียน
  ทำไมตลาดฟิลิปปินส์จึงน่าสนใจ?  
  เมืองไหนที่น่าไปทำธุรกิจ?  
           • ฟิลิปปินส์มีลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะมากกว่า 7,000 เกาะ แบ่งเป็น 3 หมู่เกาะหลัก คือ ลูซอน (ตอนเหนือ) วิสายาส์
(ตอนกลาง) และมินดาเนา (ตอนใต้)
         • การคมนาคมขนส่งภายในประเทศใช้ทางน้ำเป็นหลัก มีท่าเรือกว่า 800 แห่งทั่วประเทศ โดยท่าเรือขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุด
คือ ท่าเรือมะนิลา ส่วนท่าเรือขนส่งผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุด คือ ท่าเรือเซบู
         • การเลือกพื้นที่ในการทำธุรกิจที่ตอบโจทย์ของผู้ประกอบการไทยถือเป็นหัวใจสำคัญในการขยายตลาดสู่ฟิลิปปินส์ โดยใน 3
หมู่เกาะหลัก หากต้องการเจาะตลาดหมู่เกาะใดควรตั้งศูนย์กระจายสินค้าหรือโรงงานที่หมู่เกาะนั้น
  โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ มีอะไรบ้าง?  
   
  Mega Project : ‘Build Build Build’
   เม็ดเงินลงทุนของโครงการ :
180 Bil.USD
   ตัวอย่างโครงการสำคัญ :
รถไฟใต้ดินในกรุงมะนิลา ระบบรถไฟ
จากเมือง Clark-Laguna การขยาย
ท่าอากาศยาน Clark การสร้างเมืองใหม่
New Clark City
วัสดุก่อสร้าง ปูนซีเมนต์ เหล็ก เครื่องจักร/อุปกรณ์ก่อสร้าง
รวมถึงเข้าไปรับงานก่อสร้าง
   • โครงการสำคัญส่วนใหญ่อยู่บน
เกาะลูซอน
   • หน่วยงานที่ดูแลโครงการสำคัญ
เช่น Dept. of Public Works and
Highways, Dept. of Transportation, Bases Conversion & Development Authority
 
     ปัจจุบันสังคมเมือง (Urbanization)
โตเร็วจนมีสัดส่วนถึง 70%
สอดคล้องกับ
Middle Class ที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ
ในเมืองใหญ่ เช่น กรุงมะนิลา เกซอนซิตี้
เซบูซิตี้ เป็นต้น
   E-Commerce มีมูลค่า 2.2 Bil.USD
โตปีละ 10% Platform ที่นิยม คือ Lazada,
Shopee, Zalora
สินค้าไลฟ์สไตล์ที่ตอบโจทย์
สังคมเมือง
เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า
อาหารสำเร็จรูป เครื่องแต่งกาย
เครื่องสำอาง รวมถึงธุรกิจเฟรนไชส์
   • การเจาะตลาดกลุ่มนี้ควรหาทาง
นำสินค้าไปวางบน Platform ที่นิยม
รวมถึงเชื่อมโยงระบบการชำระเงินผ่าน
FinTech สำคัญ (GCash, PayMaya,
Coins.ph, GrabPay, PesoPay)
   • ตลาดหลักอยู่ที่กรุงมะนิลา และ
ปริมณฑล
 
  รัฐบาลมีนโยบายปฏิรูปภาคอุตสาหกรรม
ให้มีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
จากเดิมที่เป็นภาคบริการ รวมถึงการดึงดูด
การลงทุนจากต่างประเทศ
อาหารแปรรูปจากความสมบูรณ์
ด้านทรัพยากร
เช่น อาหารทะเล
   • ตั้งโรงงานใกล้กับแหล่งทรัพยากร เพื่อลดปัญหาต้นทุนขนส่งสูง
   • ควรร่วมทุนกับผู้ประกอบการ
ท้องถิ่น เพื่อลดอุปสรรคในการจัดหา
วัตถุดิบท้องถิ่น
   • ควรประเมินและบริหารจัดการ
ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ เนื่องจาก
ฟิลิปปินส์เผชิญภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง
 
  Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น
โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด
 
  หน้าหลัก I คอลัมน์พิเศษ I บทความพิเศษ I Share โลกเศรษฐกิจ I เปิดประตูสู่ตลาดใหม่ I ส่องเทรนด์โลก
รู้ทันเกมการค้า 
I เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ I CEO Talk I แวดวงคู่ค้า I แนะนำบริการ  I สรุปข่าว