 |
 |
|
 |
 |
|
ผู้บริโภคชาวจีนชื่นชอบมะพร้าวน้ำหอมของไทย เนื่องจากมีรสหวาน อร่อย และยังมีกลิ่นหอม ต่างจากมะพร้าวท้องถิ่นของจีน และมะพร้าวนำเข้าจากประเทศอื่น ๆ โดยผู้บริโภคชาวจีนเริ่มคุ้นเคยกับมะพร้าวน้ำหอมจากการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อได้ลิ้มลองก็รู้สึกติดใจในรสชาติ รวมถึงเนื้อสัมผัส จึงเป็นจุดเริ่มต้นและสร้างโอกาสของการเปิดตลาดมะพร้าวน้ำหอมไทยในจีน ทั้งนี้ จีนเริ่มนำเข้าและทำตลาดมะพร้าวน้ำหอมของไทยตั้งแต่ปี 2559 ก่อนจะกลายเป็นที่รู้จักและนิยมบริโภคเป็นวงกว้าง หลังจากร้านแฟรนไชส์ค้าปลีกผลไม้สดชื่อดังในจีน อาทิ ไป๋กั่วหยวน (Pagoda) กั่วตัวเหม่ย (Guoduomei) และเสียนเฟิง (Xianfeng) รวมถึงแพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าอาหารสดในจีน อาทิ เฟรช เหอหม่า (Fresh Hema) และตัวเตี้ยน (Dmall) เริ่มทำตลาดมะพร้าวน้ำหอมในจีนอย่างจริงจัง |
|
|
 |
 |
 |
|
ก่อนหน้าที่จะรู้จักกับมะพร้าวน้ำหอมของไทย ผู้บริโภคชาวจีนไม่นิยมรับประทานมะพร้าวแบบเป็นผล แต่นิยมรับประทานแบบเป็นเครื่องดื่มใส่แก้วหรือบรรจุกระป๋อง อีกทั้งชาวจีนส่วนใหญ่มีภาพจำว่า “น้ำมะพร้าวคือน้ำกะทิ” และไม่ทราบว่าเนื้อมะพร้าวรับประทานได้ เนื่องจากน้ำมะพร้าวที่วางจำหน่ายในจีนส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายน้ำกะทิแบบเจือจาง (หรือหางกะทิ) รสชาติค่อนข้างหวานและมัน ต่างจากน้ำมะพร้าวของไทย ที่ใส มีรสหวาน และมีกลิ่นหอม อย่างไรก็ตาม แม้ผู้บริโภคส่วนหนึ่งทราบแล้วว่าเนื้อมะพร้าวรับประทานได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่ทราบวิธีการแกะเนื้อมะพร้าวจากลูกมารับประทาน ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงยังนิยมบริโภคน้ำมะพร้าวเป็นหลัก |
|
|
 |
 |
 |
 |
|
นอกจากนี้ วิธีการที่ชาวจีนดื่มน้ำมะพร้าวของไทยยังเปลี่ยนไป จากเดิมที่ดื่มเฉพาะในช่วงฤดูร้อนเพราะเป็นเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เย็น
มาเป็นการบริโภคน้ำมะพร้าวในช่วงฤดูกาลอื่น (ยกเว้นฤดูหนาว) ด้วย เนื่องจากเชื่อว่าเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์มากต่อร่างกาย ขณะที่
น้ำมะพร้าวของจีนที่มีลักษณะเป็นน้ำกะทิเจือจางและมักรับประทานเป็นเครื่องดื่มอุ่นนั้น ชาวจีนยังนิยมดื่มในทุกฤดูกาล โดยเฉพาะ
ฤดูหนาว เพราะมีความคุ้นชินกับการดื่มเครื่องดื่มอุ่น-ร้อนมากกว่าเครื่องดื่มเย็น |
|
|
 |
 |
|
 |
|
ฝ่ายเกษตร ประจําสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ รายงานว่า จีนนำเข้ามะพร้าวน้ำหอมจากไทยราวปีละ 250,000 ตัน ในจำนวนนี้ 47.7% เป็นการนำเข้าไปยังมณฑลกวางตุ้ง เพื่อนำไปจำหน่ายยังตลาดค้าส่งผลไม้เจียงหนาน ในนครกว่างโจว ซึ่งเป็นตลาดค้าส่งผลไม้นำเข้าที่ใหญ่ที่สุดของจีน (มีปริมาณนำเข้าผลไม้จากต่างประเทศราว 60-70% ของปริมาณนำเข้าผลไม้ทั้งหมดของจีน) และอีก 25.2% ไปยังนครเซี่ยงไฮ้ และมณฑลอื่น ๆ อาทิ ฝูเจี้ยน 7.9% เจ้อเจียง 6.5% และนครเทียนจิน 6.5% ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่านอกจากมณฑลกวางตุ้งซึ่งเป็นพื้นที่หลักที่มีการนำเข้าผลไม้ไทยแล้ว มะพร้าวน้ำหอมของไทยยังสามารถกระจายตลาดไปยังมลฑลทางตอนเหนือ รวมถึงพื้นที่บริเวณเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (YRD) ได้อีกด้วย ต่างจากผลไม้ชนิดอื่นของไทยที่กระจายอยู่ในมณฑลทางใต้เป็นหลัก อาทิ มณฑลกวางตุ้ง ยูนนาน และเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง |
|
|
 |
 |
|
รูปภาพโดย : www.arsomsiam.com |
|
|
 |
 |
|
 |
1. |
เจาะตลาดตามพื้นที่ เช่น พื้นที่ที่จำหน่ายผลไม้นำเข้าจากไทยเป็นหลัก แต่มะพร้าวน้ำหอมจากไทยยังมีจำหน่ายอยู่ไม่มากนัก อาทิ มณฑลยูนนาน และเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง พื้นที่ที่มีชายฝั่งทะเลทอดยาว มีสภาพอบอุ่น-ร้อน อาทิ มณฑลฝูเจี้ยน รวมถึงมณฑลไห่หนาน เนื่องจากมะพร้าวน้ำหอมของไทยนิยมรับประทานแบบเย็น ผู้ประกอบการจึงมีโอกาสทำตลาดในพื้นที่ดังกล่าวได้ตลอดทั้งปี พื้นที่เขตเศรษฐกิจของจีน อาทิ เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (YRD) ซึ่งประกอบด้วย นครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง และมณฑลอานฮุย รวมถึงเขตเศรษฐกิจโป๋ไห่ ซึ่งประกอบด้วยกรุงปักกิ่ง นครเทียนจิน มณฑลเหอเป่ย และมณฑลซานตง เนื่องจากผู้บริโภคมีรายได้ต่อหัวสูง จึงมีกำลังซื้อมะพร้าวน้ำหอมซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงได้ อย่างไรก็ตาม การเจาะตลาดพื้นที่เขตเศรษฐกิจดังกล่าวยังต้องพิจารณาสภาพภูมิอากาศประกอบด้วย เช่น หากพื้นที่นั้นมีช่วงฤดูหนาวที่สั้นมากและอากาศไม่ได้หนาวจัด อาทิ นครเซี่ยงไฮ้ และมณฑลเจ้อเจียง ผู้ประกอบการสามารถวางจำหน่ายมะพร้าวน้ำหอมได้ตลอดทั้งปี แต่หากเป็นพื้นที่ทางตอนเหนือ ซึ่งมีช่วงฤดูหนาวที่ค่อนข้างยาวนานและมีสภาพอากาศหนาวจัด อาทิ กรุงปักกิ่ง และนครเทียนจิน ผู้ประกอบการจะมีช่วงเวลาในการวางจำหน่ายไม่มากนัก แต่อาจเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ชาวจีนหันมาบริโภคมะพร้าวน้ำหอมมากขึ้นในฤดูกาลอื่น ๆ เช่น ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง ก็จะช่วยสร้างโอกาสในการขยายตลาดในพื้นที่ดังกล่าว |
|
|
 |
 |
|
 |
2. |
เจาะตลาดตามกลุ่มผู้บริโภค เช่น กลุ่มผู้บริโภครายย่อย อาจเน้นทำการตลาดมะพร้าวน้ำหอมเจีย ซึ่งเป็นมะพร้าวน้ำหอมที่ปอกเปลือกขาวออกจนเหลือเพียงกะลา เนื่องจากมีน้ำหนักเบา และบริโภคได้สะดวก กลุ่มโรงแรมและร้านอาหาร เน้นทำการตลาดมะพร้าวน้ำหอมควั่น ซึ่งเป็นมะพร้าวน้ำหอมที่มีเปลือกหนาหุ้มอยู่และฝาด้านบนตัดแต่งเป็นรูปปลายแหลม เนื่องจากลูกค้าโรงแรมและร้านอาหารจะคุ้นเคยกับมะพร้าวในลักษณะนี้ ส่วนกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่น-วัยทำงาน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ชอบความแปลกใหม่ และนิยมสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ สามารถทำตลาดได้หลากหลาย อาทิ มะพร้าวทั้งลูก น้ำมะพร้าวที่เติมส่วนผสมหรือสารอาหารอื่น และผลิตภัณฑ์มะพร้าวน้ำหอมเข้มข้นสำหรับผสมในอาหารอื่น ๆ เช่น น้ำชาบูที่ทำจากน้ำมะพร้าวน้ำหอม |
|
|
 |
 |
|
 |
 |
|
ปัจจุบันมะพร้าวน้ำหอมถือเป็นสินค้าใหม่สำหรับชาวจีน อีกทั้งยังมีลักษณะและวิธีการบริโภคที่แตกต่างจากน้ำมะพร้าวที่ชาวจีนคุ้นเคยอยู่พอสมควร การขยายตลาดมะพร้าวน้ำหอมในจีนจึงต้องผสมผสานระหว่างการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคชาวจีนรู้จักสรรพคุณ วิธีการรับประทาน และวิธีการแกะเนื้อมะพร้าวจากลูกมารับประทาน ร่วมกับการเจาะตลาดอย่างมีกลยุทธ์ ทั้งการตั้งเป้าพื้นที่ที่จะทำตลาดและกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายอย่างชัดเจน เพื่อวางแผนการจัดจำหน่ายและหาช่องทางรุกตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากแต่ละพื้นที่และผู้บริโภคแต่ละกลุ่มมีโอกาสและข้อจำกัดในการขยายตลาดที่แตกต่างกัน |
|
|