EXIM BANK ออกมาตรการของขวัญปีใหม่ 2565 สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสุด 2% ต่อปี
ช่วยผู้ส่งออกปรับปรุงโรงงานและกระบวนการผลิต เริ่มต้นส่งออก
พร้อมลดค่าธรรมเนียมบริการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ซื้อในต่างประเทศ
 
            EXIM BANK จัดเต็มแพ็กเกจของขวัญปีใหม่ 2565 เพื่อผู้ส่งออก ออกมาตรการของขวัญปีใหม่ “สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ” ต่ำสุด 2% ต่อปี เพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโรงงานหรือกระบวนการผลิต และสร้างผู้ส่งออกป้ายแดง พร้อมลดค่าวิเคราะห์ข้อมูลผู้ซื้อสำหรับลูกค้าประกันการส่งออก เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ไทยในทุกอุตสาหกรรม มีเงินทุนฟื้นฟูกิจการและปรับปรุงกระบวนการผลิตรับโลกยุค Next Normal รวมทั้งเริ่มต้นส่งออกได้ โดยมี “ประกันการส่งออก” เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ รองรับการขยายตัวของภาคการส่งออกซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีหน้าอย่างต่อเนื่อง

          ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว แต่กำลังซื้อในประเทศยังมีโอกาสเติบโตได้น้อย จากข้อจำกัดหลายด้าน อาทิ ภาระหนี้ครัวเรือนและปัญหาการว่างงาน อันเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ขณะที่เศรษฐกิจโลกในปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่องจากปี 2564 โดยคาดว่าจะขยายตัว 4.9% ตลาดส่งออกสำคัญของไทย อาทิ สหรัฐฯ จีน อินเดีย และเวียดนาม ก็มีแนวโน้มฟื้นตัวดี ช่วยให้ไทยมีโอกาสส่งออกได้มากขึ้นในหลายตลาด ดังนั้น EXIM BANK จึงพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ส่งออกได้มากขึ้นโดยเร็ว และแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

          ในการเตรียมความพร้อมให้ผู้ส่งออกไทย โดยเฉพาะ SMEs สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างไม่มีสะดุด และก้าวสู่ตลาดโลกได้อย่างมั่นใจ EXIM BANK จึงออกมาตรการของขวัญปีใหม่ 2565 ดังนี้

          1. EXIM BANK ปันยิ้ม - ส่งมอบรอยยิ้มด้วยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่
              สินเชื่อ EXIM Biz Transformation Loan สนับสนุนผู้ประกอบการที่ต้องการซื้อหรือปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ ก่อสร้างอาคารโรงงาน หรือมีการลงทุนใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการปรับตัวหลังจากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 รองรับโลกยุค Next Normal อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 2% ต่อปีใน 2 ปีแรกวงเงินสูงสุด 100 ล้านบาทต่อราย ผ่อนชำระนานสูงสุด 7 ปี ฟรี! ค่าธรรมเนียมหนังสือค้ำประกันบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 3 ปี กรณีใช้โครงการ บสย. SMEs นำเข้า-ส่งออก
              สินเชื่อ EXIM Jump Start เติมทุน เสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจอย่างก้าวกระโดดหลังจากสถานการณ์ COVID-19 วงเงินสูงสุด 50 ล้านบาทต่อราย สำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 10 ล้านบาท ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน บสย. ค้ำประกันเต็มวงเงิน อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2% ต่อปีใน 2 เดือนแรก จากปกติปีแรก 3% สำหรับลูกค้ารายใหม่และรายเดิม

          2. EXIM BANK ปันสุข - ส่งมอบความสุขด้วยบริการประกันการส่งออกที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถส่งออกได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศ โดย EXIM BANK จะยกเว้นค่าวิเคราะห์ข้อมูลจำนวน 1 รายต่อกรมธรรม์ สำหรับผู้เอาประกันรายใหม่ หากมีกรมธรรม์ประกันการส่งออกอยู่แล้วจะได้รับส่วนลด 50% สำหรับค่าวิเคราะห์ข้อมูล 2 รายต่อกรมธรรม์ มูลค่าสูงสุด 3,000 บาทต่อราย

          “ภารกิจเร่งด่วนของ EXIM BANK คือ การช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยให้ฟื้นตัวจากผลกระทบของ COVID-19 มีเงินทุนเพียงพอในการฟื้นฟูกิจการ ขณะเดียวกันก็มีความพร้อมที่จะปรับตัวหรือแปลงร่างกิจการ เพื่อที่จะแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในโลกยุค Next Normal ในระยะถัดไป ด้วยบริการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ อันจะช่วยแบ่งเบาภาระและลดต้นทุนของผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นใจของผู้ประกอบการไทยในการบุกตลาดการค้า ทั้งตลาดเดิมและตลาดใหม่ที่กำลังค่อย ๆ ฟื้นตัวจาก COVID-19 รวมทั้งมีโอกาสใหม่ทางธุรกิจรออยู่ในโลกการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป” ดร.รักษ์ กล่าว
 
  EXIM BANK ร่วมออกบูทในงานมหกรรมการเงิน Money Expo กรุงเทพฯ ครั้งที่ 21  
            ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมพิธีเปิดงานมหกรรมการเงินกรุงเทพฯ ครั้งที่ 21 (Money Expo 2021) โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธีเปิดงานผ่านระบบออนไลน์ และนายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานบรรณาธิการวารสารการเงินธนาคาร เป็นประธานจัดงาน ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ มหกรรมการเงินกรุงเทพฯ ครั้งที่ 21 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-26 ธันวาคม 2564 ซึ่ง EXIM BANK ร่วมออกบูทให้คำปรึกษาแนะนำและบริการทางการเงิน รวมทั้งโปรโมชันพิเศษ สินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ และบริการประกันการส่งออกแก่ผู้ประกอบการส่งออก SMEs หรือผู้ที่สนใจจะเริ่มต้นส่งออก พร้อมจัดกิจกรรมเช็กดวงธุรกิจจากสมาคมโหรแห่งประเทศไทย ในวันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม 2564 เวลา 11.00-17.00 น. และพิเศษกิจกรรมเปิดดวงธุรกิจภาพรวมปี 2565 โดยซินแสเป็นหนึ่ง วงษ์ภูดร  
  EXIM BANK สนับสนุนผู้ประกอบการไทยปรับปรุงกระบวนการผลิตและนวัตกรรมสินค้า
ตามเทรนด์ด้านสิ่งแวดล้อม โลกดิจิทัล และสุขภาพ เพื่อการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน
 
            EXIM BANK ชี้ธุรกิจไทยต้องเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยนวัตกรรมด้านกระบวนการผลิตหรือสินค้าตามกระแสโลกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล และการดูแลรักษาสุขภาพ โดย EXIM BANK มีบริการตอบโจทย์การปรับปรุงกระบวนการผลิตและการพัฒนาสินค้า รวมถึงช่องทางการค้าออนไลน์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุค Next Normal

          ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ EXIM BANK กล่าวเปิดงานเสวนาออนไลน์ “A Better World in the Next Normal”
ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า EXIM BANK มุ่งสู่การเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาของประเทศไทย ยึดมั่นในการเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การเป็นธนาคารที่ยั่งยืน จึงพร้อมสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง SMEs ให้เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน เนื่องจากความยั่งยืนเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคนและโลกในอนาคต ทั้งในแง่มุมของทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรทางสังคม ภาคธุรกิจจึงต้องให้ความใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการเติบโตของธุรกิจด้วย

          ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ทางรอดของธุรกิจในโลกยุค Next Normal คือ การเชื่อมโยง
ธุรกิจและผลิตสินค้าที่สร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล และการดูแลรักษาสุขภาพของประชากร
โลก (More Green, More Digital, More Health) อาทิ การดำเนินธุรกิจที่ลดการปล่อยมลพิษ การใช้แพลตฟอร์มการค้าออนไลน์เป็น
ช่องทางส่งออกสินค้า ซึ่งคาดว่าภายในปี 2568 ประชากรของโลกจะซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จำนวนสูงถึง 60% และการบริโภค
สินค้าอาหารเพื่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารออร์แกนิก (Organic Food) อาหารจากพืชผัก (Plant-based Food) และอาหาร
ฟังก์ชัน (Functional Food) ที่มีสารประกอบในอาหารทำหน้าที่พิเศษกว่าการให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย จะมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้น
10-15% ต่อปี ภายในปี 2570 ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่
หลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่สิ้นสุด ขณะที่รัฐบาลในหลายประเทศเริ่มกำหนดกฎระเบียบและมาตรการทางการค้า
ระหว่างประเทศที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยด้านสุขอนามัยของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการไทย
ต้องเร่งปรับตัวทางธุรกิจให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับกฎระเบียบ มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ และความต้องการ
ของผู้บริโภคยุคใหม่

          ดร.รักษ์ กล่าวว่า “สมการธุรกิจโตยั่งยืน” จะเป็นสูตรสำเร็จที่ช่วยให้ธุรกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 3 ตัวแปร ได้แก่ 1. การสร้างโมเดลธุรกิจโตยั่งยืน (Sustainable Business Model) โดยคำนึงทุกคนรอบข้าง โลก และผลกำไรที่ยั่งยืน (People, Planet, Profit) 2. การดำเนินธุรกิจที่สอดรับกับเทรนด์แห่งอนาคต (Future Trends) โดยการประยุกต์เทรนด์ GDH เข้ากับสินค้า บริการ และกระบวนการผลิต หรือแตกไลน์ธุรกิจใหม่ เพื่อตอบสนองเทรนด์ดังกล่าว และ 3. พันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่ EXIM BANK และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ จะช่วยเติมเต็มช่องว่างทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทยได้อย่างครบวงจร โดย EXIM BANK มีบริการที่ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการปรับธุรกิจเพื่อเปลี่ยนไปสู่ความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นบริการด้านสินเชื่อ อาทิ EXIM Biz Transformation Loan สนับสนุนผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนเพิ่มเพื่อยกระดับประสิทธิภาพและกระบวนการผลิต ขยายกำลังการผลิต รวมทั้งปรับปรุงซอฟต์แวร์ดิจิทัล อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 2% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 100 ล้านบาท ผ่อนชำระนานสูงสุด 7 ปี สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อ EEC และเครือข่ายนิคมอุตสาหกรรม สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนในพื้นที่ EEC (ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง) รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษ อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 3% ต่อปี ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี และบริการอื่น ๆ อาทิ เครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ และการอบรมให้ความรู้ด้านการส่งออกและการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน นอกจากนี้ EXIM BANK ยังพร้อมสนับสนุนการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจให้แข็งแรง เพื่อเตรียมความพร้อมในการปรับตัวทางธุรกิจให้ทันกระแสโลกการค้ายุคใหม่

          ในงานเสวนาออนไลน์ครั้งนี้ EXIM BANK ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและบริษัทชั้นนำซึ่งประสบความสำเร็จจากการดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิดความยั่งยืน ประกอบด้วย นายอังศุธรย์ วสุสัณห์ รองผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และชักชวนนักลงทุน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และนางสาวลีน่า อึ้ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) นำเสนอแนวคิดและประสบการณ์ในการปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจให้สามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป

          “ในยุค Next Normal การปรับตัวเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืนมิได้เป็นทางเลือก แต่เป็นทางรอดของทุกธุรกิจ โดย EXIM BANK พร้อมร่วมมือกับพันธมิตร รวมถึงลูกค้าผู้ประกอบการที่มีความพร้อมในการปรับตัวได้เร็ว เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs ให้เข้าสู่ Supply Chain ของการส่งออกได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ด้วยมาตรฐานการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยตอบสนองกับกระแสโลกยุคใหม่ และเติมเต็มการพัฒนาของโลกอย่างยั่งยืน” ดร.รักษ์ กล่าว
 
  EXIM BANK ชี้ปี 65 โอกาสขยายตลาดของผู้ส่งออก
หลังโชว์ฟอร์มสุดปัง สร้างสถิติใหม่ทุกมิติของธนาคารเพื่อการพัฒนาประเทศในปี 64
ขยายสินเชื่อ-บริการประกันสูงสุดเป็นประวัติการณ์ กำไรสุทธิโตกว่า 200%

 
            EXIM BANK ชี้ปี 2565 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวตามเศรษฐกิจโลก ผู้ส่งออกต้องปรับตัวรับเทรนด์ใหม่ของโลกยุค Next Normal เน้นเศรษฐกิจเชื่อมโยงการพัฒนาเทคโนโลยี การดูแลสุขภาพ การปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านสิ่งแวดล้อม และการตอบสนองความต้องการของลูกค้าแบบเจาะกลุ่ม หลัง EXIM BANK ฉลองความสำเร็จผลการดำเนินงานปี 2564 และ 9 เดือนภายใต้การบริหารงานของ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ คาดการณ์ยอดคงค้างสินเชื่อและปริมาณธุรกิจสะสมบริการประกันทะลุกว่า 150,000 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เปิดดำเนินงาน สร้างกำไรสุทธิกว่า 1,500 ล้านบาท เติบโตทะยานขึ้นกว่า 200% จากปี 2563 และสูงสุดในรอบ 5 ปี

          ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ในปี 2565 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าจะขยายตัวถึง 4.9% ขณะที่การค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัว 6.7% สูงกว่าอัตราเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่ระดับ 3.0% และ 2.7% ตามลำดับ ด้านเศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับ คาดว่าการส่งออกไทยจะขยายตัวราว 5% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยมีแรงหนุนสำคัญมาจากความคืบหน้าของการกระจายและฉีดวัคซีนทั่วโลก ขณะเดียวกัน สินค้าไทยหลายรายการยังตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ได้ดี โดยเฉพาะสินค้าอาหารและผลไม้ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับ Work from Home ของใช้ในบ้าน และสินค้าทางการแพทย์ นอกจากนี้ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป นั่นหมายถึง ไทยจะเข้าร่วมตลาดขนาดใหญ่ครอบคลุมอาเซียน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ รวม 15 ประเทศ คิดเป็นกำลังซื้อกว่า 30% ของโลกหรือราว 2,200 ล้านคน ซึ่งไทยส่งออกไปประเทศสมาชิก RCEP อยู่แล้วกว่า 50% ของมูลค่าส่งออกรวม ทำให้สินค้าไทยราว 30,000 รายการ อาทิ ผลไม้ ยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ ได้รับการลดภาษีเหลือ 0% จึงเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสเจาะตลาดให้แก่ผู้ส่งออกไทยได้มากขึ้น

          อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามอง อาทิ การกลายพันธุ์และการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ที่อาจฉุดรั้งการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าบางแห่ง อัตราแลกเปลี่ยนที่อาจผันผวนมากขึ้นหลังธนาคารกลางสำคัญของโลกโดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ หันมาใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ และปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบโดยเฉพาะชิป รวมถึงต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจกดดันให้ Margin ของผู้ส่งออกไทยลดลงได้

          กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยปี 2565 จะกำลังฟื้นตัว แต่ยังขยายตัวต่ำและฟื้นตัวช้ากว่าหลายประเทศ เนื่องจากปัญหาเชิงโครงสร้างในหลายมิติ ทำให้วิกฤต COVID-19 สร้างผลกระทบและมีบาดแผลที่ลึกกว่าประเทศคู่ค้า อาทิ ผู้ประกอบการ SMEs ของไทยมีจำนวนมาก แต่ยังมีบทบาทต่อเศรษฐกิจน้อยเพราะส่วนใหญ่ค้าขายในประเทศเป็นหลัก เศรษฐกิจไทยจะพลิกฟื้นกลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืน เมื่อผู้ประกอบการลุกขึ้นมาปรับหรือเปลี่ยนสินค้าและกิจการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามเทรนด์ใหม่ ๆ ของโลกได้ ภายใต้บทบาทธนาคารเพื่อการพัฒนา ซึ่งจะวางรากฐานการยกระดับเศรษฐกิจไทยสู่นวัตกรรมยุคใหม่อย่างยั่งยืน สนับสนุนธุรกิจทุกระดับในทุกอุตสาหกรรมทุกช่วงธุรกิจตั้งแต่ “เกิด แก่ เจ็บ และตาย” ด้วยบริการครบวงจร ได้แก่
 
  1. “เกิด” การบ่มเพาะความรู้และเติมทุน เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้และตั้งต้นส่งออก อาทิ บริการสินเชื่อผู้ส่งออกป้ายแดง การจัดอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำ  
  2. “แก่” การเสริมทุนและสร้างโอกาสทางการตลาด เพื่อส่งเสริมการขยายกิจการให้เติบโตอย่างมั่นคง อาทิ สินเชื่อเพื่อขยายกำลังการผลิต การจับคู่ธุรกิจ การจัดให้มีแพลตฟอร์มการค้า EXIM Thailand Pavilion  
  3. “เจ็บ” การช่วยเหลือเยียวยาจากผลกระทบ เมื่อเกิดวิกฤต อาทิ สินเชื่อฟื้นฟู เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงและความผันผวนด้านอัตราแลกเปลี่ยน  
  4. “ตาย” การดูแลธุรกิจที่เริ่มไปต่อได้ยากให้มีมูลค่าเพิ่ม หรือสามารถแปลงร่างกลับมาสู่เทรนด์โลกได้ อาทิ สินเชื่อ EXIM Biz Transformation Loan  
            ด้านผลการดำเนินงานในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2564 แม้เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกจะยังได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 EXIM BANK ยังสามารถขยายบทบาทการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยทั้งด้านการเงิน ครอบคลุมบริการสินเชื่อและประกัน และไม่ใช่การเงินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย EXIM BANK มียอดคงค้างสินเชื่อ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ 148,849 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปี 2564 ยอดคงค้างจะสูงถึง 152,383 ล้านบาท สูงสุดตั้งแต่เปิดดำเนินการมา 28 ปี เติบโตขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 17,155 ล้านบาท หรือ 12.69%

          สำหรับการให้บริการประกันการส่งออกและการลงทุน EXIM BANK เป็นธนาคารรัฐแห่งเดียวที่สามารถให้บริการดังกล่าว เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการไทยในการรุกตลาดโลก โดยเฉพาะในภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 EXIM BANK มีปริมาณธุรกิจสะสมบริการประกันเท่ากับ 149,148 ล้านบาท และคาดว่าสิ้นปี 2564 EXIM BANK จะสามารถเร่งทำผลงานด้านรับประกันให้แตะระดับ 150,000 ล้านบาท สูงสุดตั้งแต่เปิดดำเนินงาน โดยเติบโตจากปีก่อนหน้า 11.05%

          จากการขยายสินเชื่อและบริการประกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้ปรับตัวและดำเนินธุรกิจการค้าการลงทุนระหว่างประเทศได้อย่างยั่งยืน ทำให้คาดการณ์ว่า EXIM BANK จะขยายจำนวนลูกค้าเป็น 4,845 ราย ณ สิ้นปี 2564 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 13.17% และยังทำหน้าที่ช่วยเหลือกิจการที่ได้รับผลกระทบจากCOVID-19 ผ่านการออกมาตรการต่าง ๆ รวมทั้งให้การเผยแพร่ข้อมูลและพัฒนาทักษะความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการให้คำปรึกษาและจัดอบรม/สัมมนา/จับคู่ธุรกิจออนไลน์ ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2564 EXIM BANK ได้ช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินแก่ผู้ประกอบการประมาณ 11,300 ราย ด้วยวงเงินรวมกว่า 70,000 ล้านบาท

          ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่และสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ EXIM BANK มีแนวทางการบริหารและติดตามความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2564 มีอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio) อยู่ที่ 3.68% และคาดว่าภายในสิ้นปี 2564 จะสามารถบริหารจัดการให้ NPL Ratio ลดลงมาอยู่ที่ 2.68% ซึ่งลดลงถึง 1.13% เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน และต่ำที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540

          จากการขยายธุรกิจอย่างก้าวกระโดด ประกอบกับการบริหารจัดการภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้คาดว่า ณ สิ้นปี 2564 EXIM BANK จะสามารถทำกำไรสุทธิได้สูงถึง 1,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 211.96% เมื่อเทียบกับปีก่อนซึ่งขาดทุนกว่าพันล้านบาท โดยถือเป็นกำไรสุทธิที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี

          นอกจากนี้ เพื่อขยายบทบาทสนับสนุนผู้ประกอบการได้อย่างต่อเนื่อง EXIM BANK ยังได้รับอนุมัติเงินเพิ่มทุนจากกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จำนวน 4,198 ล้านบาท นับเป็นการเพิ่มทุนครั้งแรกในรอบ 12 ปี โดยแบ่งจ่ายงวดที่ 1 จำนวน 2,198 ล้านบาท ซึ่ง EXIM BANK ได้รับเรียบร้อยแล้วในเดือนพฤศจิกายน 2564 และงวดที่ 2 อีกจำนวน 2,000 ล้านบาท ภายในปี 2565 เปรียบเสมือนการเติมน้ำมันให้ EXIM BANK เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถทำการค้าการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ตลาดเป้าหมายในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) และตลาดใหม่ (New Frontiers) ที่มีศักยภาพได้มากยิ่งขึ้น

          “ปี 2564 เป็นก้าวแรกของ EXIM BANK ที่ได้พลิกโฉมและยกระดับองค์กรสู่การเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย เพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการองค์กรอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและยั่งยืน ท่ามกลางปัจจัยท้าทายต่าง ๆ นำมาซึ่งโอกาสใหม่ ๆ ของภาคธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยและโลกโดยรวม” ดร.รักษ์ กล่าว
 
  EXIM BANK สนับสนุนกลุ่ม อิมแพคท์ โซล่าร์ กรุ๊ป ขยายธุรกิจติดตั้งระบบ Solar Rooftop
ส่งเสริมนวัตกรรมที่นำไปสู่ Bio-Circular-Green Economy
 
            EXIM BANK สนับสนุนทางการเงินจำนวน 360 ล้านบาท ให้กลุ่มบริษัทอิมแพคท์ โซล่าร์ กรุ๊ป นำไปใช้ขยายการลงทุนในธุรกิจติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) กำลังการผลิตกว่า 22 เมกะวัตต์ (MW) เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่บริษัทเอกชน นำไปสู่การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมโดยใช้พลังงานสะอาดและนวัตกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) โดยสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และภารกิจของ EXIM BANK ที่มุ่งสู่การยกระดับเศรษฐกิจไทยสู่นวัตกรรมยุคใหม่อย่างยั่งยืน

          ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นายวรมน เป๊ก ขำขนิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อิมแพค อิเลคตรอนส์ สยาม จำกัด และนายสมบูรณ์ เลิศสุวรรณโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อิมแพคท์ โซล่าร์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามในสัญญาสนับสนุนทางการเงินของ EXIM BANK จำนวนรวม 360 ล้านบาทให้แก่บริษัท อิมแพคท์ โซล่าร์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อสนับสนุนการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) กำลังการผลิต 22.06 เมกะวัตต์ สำหรับจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่บริษัทเอกชนต่อไป ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้

          EXIM BANK ซึ่งมีเป้าหมายสู่การเป็นธนาคารเพื่อพัฒนาแห่งประเทศไทย ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่ม อิมแพคท์ โซล่าร์ กรุ๊ป เป็นวงเงินรวม 1,294 ล้านบาท เพื่อลงทุนติดตั้ง Solar Rooftop แล้วกว่า 70 โครงการ กำลังผลิตรวม 96 เมกะวัตต์ เพื่อส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจสู่ชั้นบรรยากาศโลก บรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ สอดรับกับเป้าหมายของประเทศไทยที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี 2608 ตามนโยบายรัฐบาลและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ EXIM BANK

          “EXIM BANK มุ่งขยายความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนที่มีภารกิจร่วมกันในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยและโลก รวมถึงการบริหารจัดการการเงินและการลงทุนทางการเงินของธนาคารที่นำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี ร่วมกันแก้ไขปัญหาและความท้าทายของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ควบคู่กับการซ่อม สร้าง และเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการทุกขนาดธุรกิจให้ก้าวพ้นวิกฤตและแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยก้าวทันและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค Next Normal ได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน” ดร.รักษ์กล่าว

 
  EXIM BANK จับมือ วว. และ บสย. ให้ความรู้ด้านการบริหารเงินและพัฒนานวัตกรรม
สินค้าเกษตรวิสาหกิจชุมชนเพื่อส่งออกและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
 
           ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และนายเทียบจิตต์ จันทรภูติผลากร ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน
SMEs (บสย. F.A. Center) นำทีมผู้เชี่ยวชาญจาก 3 หน่วยงานเข้าร่วมเป็นวิทยากรและบรรยายพิเศษในโครงการ CSR “EXIM เพื่อ
การเงินในชุมชน” ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK วว. และ บสย. เพื่อให้ความรู้ด้านการบริหารเงินเพื่อธุรกิจและ
การใช้นวัตกรรมยกระดับสินค้าสมุนไพรส่งออกให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกอย่างยั่งยืนแก่เกษตรกรในพื้นที่สวนปันแสน วิสาหกิจ
ชุมชนแปรรูปสมุนไพรปลูกรัก อ.แม่ระมาด จังหวัดตาก โดยมีนางสาวเสาวลักษณ์ มณีทอง ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชนแปรรูป
สมุนไพรปลูกรัก พร้อมด้วยเกษตรกรในเครือข่ายเข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ ผลสรุปโครงการพบว่า 100% ของผู้เข้ารับการอบรมในโครงการ
ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ EXIM BANK ได้มอบกรมธรรม์ประกันการส่งออกให้แก่บริษัท ภาลักษณ์เจริญ จำกัด เพื่อคุ้มครอง
ความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากการส่งออกขมิ้นชันไปต่างประเทศเป็นครั้งแรก เมื่อเร็ว ๆ นี้
 
  EXIM BANK ร่วมสนับสนุนและแสดงจุดยืนเป็นองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน
“ไม่ทำ ไม่ทน ไม่เฉย รวมไทยต้านโกง”
 
           ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK) พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงาน ร่วมสนับสนุนและแสดงจุดยืนเป็นองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) ปี 2564 ภายใต้แนวคิด “Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้  
  EXIM BANK รับรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ปี 2564  
 

         นางวรางคณา วงศ์ข้าหลวง รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK รับรางวัลเกียรติคุณ Sustainability Disclosure Award ซึ่งเป็นรางวัลระดับสูงสุดให้แก่ EXIM BANK ในงานประกาศผลรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน (Sustainability Disclosure Award) ประจำปี 2564 จากนายวรณัฐ เพียรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ซึ่งพิจารณามอบให้แก่องค์กรสมาชิกเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sustainability Disclosure Community) ที่ดำเนินธุรกิจเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนต่อสาธารณชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับการเปิดเผยข้อมูลและการพัฒนาองค์กรแห่งความยั่งยืนในระยะยาว ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร เมื่อเร็ว ๆ นี้

 
  EXIM BANK แต่งตั้งผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ  
           EXIM BANK แต่งตั้งนายอดิศร การะกูล เป็นผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป

         ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) แต่งตั้งนายอดิศร การะกูล เป็นผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ ดูแลการบริหารจัดการงานเทคโนโลยีสารสนเทศ การเชื่อมโยงระบบภายในและภายนอก รวมทั้งการดูแลความปลอดภัยของระบบเครือข่ายให้เป็นไปตามมาตรฐานและปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป
 
  หน้าหลัก  I  คอลัมน์พิเศษ   Share โลกเศรษฐกิจ  I  เปิดประตูสู่ตลาดใหม่  I  ส่องเทรนด์โลก
เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ  I  
เรื่องเล่าจาก CLMV  I  CEO Talk  I แวดวงคู่ค้า  I  แนะนำบริการ  I  สรุปข่าว