 |
 |
 |
 |
|
ปัจจุบันการเปิดรับเทคโนโลยีทางการเงินสมัยใหม่ หรือ Financial Technology (FinTech) เป็นกระแสที่หลายประเทศ
ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ ไม่เว้นแม้แต่กัมพูชา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเทศในอาเซียนที่ภาคการเงินการธนาคารเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
และเปิดกว้าง ส่วนหนึ่งเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะบริการชำระเงินผ่านระบบ
e-Payment เนื่องจากไม่เพียงช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินมีต้นทุนที่ต่ำลง มีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่ยังมีส่วนช่วย
ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการเงิน ตลอดจนเป็นอีกหนึ่งกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้เติบโต
ได้อีกด้วย
กัมพูชาเปิดรับเทคโนโลยีทางการเงินสมัยใหม่
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ธนาคารกลางกัมพูชา (National Bank of Cambodia : NBC) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ได้ลงนาม MOU ความร่วมมือในการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินและการชำระเงิน เพื่อส่งเสริมการชำระเงินในรูปแบบ
e-Payment ในประเทศกัมพูชาและเชื่อมโยงบริการทางการเงินระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สะท้อนให้เห็น
ว่ารัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญและเปิดรับการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินมากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้ ปัจจุบัน NBC มีโครงการศึกษาและ
พัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินในหลายรูปแบบที่สำคัญ อาทิ
• เทคโนโลยี Blockchain : ในปี 2560 NBC ลงนามความตกลงร่วมกับบริษัท Soramitsu (บริษัท Start-up ด้าน FinTech
ชั้นนำจากญี่ปุ่น) เพื่อร่วมพัฒนาระบบ Blockchain สำหรับใช้ในการดำเนินงานของ NBC โดยมีชื่อว่า Hyperledger Iroha ซึ่งเป็นระบบ
ปฏิบัติการที่ไม่ซับซ้อนและสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดทางการเงินได้ ถัดมาในปี 2561 NBC ได้เริ่มทดลองใช้ระบบดังกล่าวสำหรับ
การให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Lending) และคาดว่าจะใช้ศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างสกุลเงินดิจิทัลของกัมพูชาในอนาคต
• Standardized QR Code : NBC อยู่ระหว่างศึกษาและพัฒนามาตรฐาน QR Code เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบ
การชำระเงินของกัมพูชาอันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินภายใต้ Financial Sector Development Strategy
2016-2025 ของกัมพูชา
• Cross-Border e-Payment : NBC และ ธปท. มีความร่วมมือในการพัฒนาระบบ e-Payment เพื่อเชื่อมโยงการชำระเงิน
ระหว่างกัมพูชาและไทยในลักษณะ Cross-Border e-Payment อันจะมีส่วนช่วยให้การส่งเงินกลับของแรงงานชาวกัมพูชามีความสะดวก
และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มขยายความร่วมมือดังกล่าวไปยังประเทศอื่นในอาเซียน ล่าสุดธนาคารกลางของประเทศ
ในอาเซียนได้ตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อเร่งพัฒนามาตรฐานกลางการชำระเงินด้วย QR Code ของประเทศสมาชิกอาเซียนให้สำเร็จ
ได้ภายในปี 2562 ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในอาเซียนเข้าด้วยกันและส่งผลให้การทำธุรกรรมด้านการโอนเงิน/ชำระเงิน
ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนมีต้นทุนที่ต่ำลง
การที่ NBC ซึ่งถือเป็นหน่วยงานกำกับดูแลสูงสุดในภาคการเงินของกัมพูชามีแนวนโยบายให้ความสำคัญกับการพัฒนา
เทคโนโลยีทางการเงิน ประกอบกับจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในกัมพูชาที่เพิ่มขึ้นมากจากราว 1.8 แสนคนในปี 2553 เป็น 12.5 ล้านคน
ในปี 2561 ส่งผลให้สถาบันการเงินในกัมพูชาส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับ FinTech และปัจจุบันมีสถาบันการเงินต่างชาติ
เริ่มนำเสนอบริการผ่านแอพพลิเคชั่นและแพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่ๆ อาทิ AEON Specialized Bank (Cambodia) ที่นำเสนอแอพพลิเคชั่น
Riel Payment ซึ่งเน้นให้บริการชำระเงินออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือ (Mobile Payment) สำหรับลูกค้าที่ต้องการชำระค่าสินค้าในห้าง
AEON Mall ในกัมพูชา รวมทั้งการชำระค่าสินค้าและบริการอื่นๆ ทั่วไป ทั้งในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินเรียลของกัมพูชา เพื่อ
อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าและสนับสนุนการใช้เงินเรียลตามนโยบายของรัฐบาลกัมพูชา ขณะที่ธนาคารไทยพาณิชย์อยู่ระหว่างพัฒนา
และทดสอบการให้บริการชำระเงินในรูปแบบ QR Payment ข้ามประเทศ ร่วมกับสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ในกัมพูชา เพื่อเพิ่ม
ความสะดวกให้กับลูกค้าของธนาคารที่มีการใช้จ่ายเพื่อเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวไทย
สามารถใช้แอพพลิเคชั่นของธนาคารในการสแกน QR Code เพื่อชำระเงินค่าสินค้าและบริการให้กับร้านค้าในกัมพูชาที่ร่วมโครงการได้
โดยจะเปิดให้บริการได้จริงในระยะต่อไป
FinTech…ช่วยเติมเต็มความต้องการใช้บริการทางการเงินในกัมพูชา
แพลตฟอร์มดิจิทัลทางการเงินใหม่ๆ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและประยุกต์ใช้จะมีส่วนช่วยเติมเต็มความต้องการใช้บริการทาง
การเงินทั้งการโอนเงินภายในประเทศและระหว่างประเทศผ่านทางออนไลน์ที่มีค่าธรรมเนียมถูกลง ตลอดจนการระดมทุนรูปแบบใหม่ๆ
ที่ระบบสถาบันการเงินแบบเดิมไม่สามารถตอบโจทย์ได้อย่างการระดมทุนผ่าน Crowdfunding ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยหน้าใหม่
เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น รวมถึงแพลตฟอร์มสินเชื่อ P2P (Peer-to-peer Lending) ซึ่งเป็นการให้สินเชื่อระหว่างบุคคลที่ระบบจะ
ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจับคู่ผู้ขอสินเชื่อและผู้ให้สินเชื่อผ่านการคำนวณคะแนนเครดิต (Credit Score) ทั้งนี้ ธนาคารพัฒนาเอเชีย
(ADB) ระบุว่าการพัฒนาและประยุกต์ใช้ FinTech อาทิ การให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลทางการเงิน จะมีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำ
ในการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) ในกัมพูชา โดยจะทำให้ชาวกัมพูชาสามารถเข้าถึงธุรกรรมการโอนเงิน/ชำระเงิน
เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเข้าถึงสินเชื่อได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
|
|
 |
|
ตัวอย่าง Startup ด้าน FinTech ในกัมพูชา |
|
|
 |
|
|
|
“TosFUND”
แพลตฟอร์ม Crowdfunding |
“Karprak.com”
แพลตฟอร์มสินเชื่อ P2P |
|
|
 |
 |
|
ทั้งนี้ การเปิดรับกระแสการพัฒนา FinTech ไม่เพียงช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้นทั้งในมิติการชำระเงินและ
การเข้าถึงสินเชื่อ ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวกัมพูชา แต่ยังมีส่วนเกื้อหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา สอดคล้อง
กับที่ Mastercard ผู้ให้บริการบัตรเครดิตรายใหญ่ของโลก ประมาณการว่าการชําระเงินผ่านระบบ e-Payment ที่เพิ่มขึ้น 1% ของการ
ชําระเงินโดยรวมของประชาชนจะช่วยให้ GDP ของประเทศนั้นขยายตัวขึ้น 0.3-0.5% นอกจากนี้ ความสะดวกและคล่องตัวในการ
ทำธุรกรรมทางการเงินที่เพิ่มขึ้น อาทิ การชำระเงินด้วย QR Code ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะระหว่างไทยและกัมพูชาจะมีส่วนช่วย
เกื้อหนุนธุรกรรมการค้าระหว่างกันให้ขยายตัว รวมทั้งยังมีแนวโน้มกระตุ้นการทำธุรกรรมทางการค้าผ่าน e-Commerce ให้เพิ่มมากขึ้น
ในระยะถัดไป ซึ่งจะเป็นโอกาสเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการไทยในตลาดกัมพูชาในอนาคต |
|
 |
 |
|
Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น
โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด |
|
|
 |
 |
|
|