 |
 |
|
นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ให้การต้อนรับนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานกรรมการสมาคมธนาคารไทย และผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ ในงานสัมมนา “โครงการบริหารความเสี่ยง FX ของ
SMEs ระยะที่ 2” จัดโดย EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการ 8 แห่ง ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท
เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อช่วยให้ผู้ส่งออก SMEs มีความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนจะได้รับวงเงินค่าธรรมเนียมมูลค่า 50,000 บาทต่อกิจการ นำไปใช้ทดลองซื้อประกันค่าเงิน
(FX Options) กับธนาคารพาณิชย์ 8 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในการประกอบธุรกิจการค้า
ระหว่างประเทศ และส่วนลด 50% ในการทำประกันการส่งออกกับ EXIM BANK เพื่อให้มั่นใจว่า “ส่งออกแล้ว ได้เงินแน่นอน” |
|
 |
 |
|
EXIM BANK จัดประชุมประจำปีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าในเอเชีย ครั้งที่ 24 จ.ภูเก็ต
เตรียมความพร้อมผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยและเอเชียเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 |
|
|
 |
 |
 |
|
EXIM BANK เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าในเอเชีย (Asian EXIM Banks
Forum : AEBF) ครั้งที่ 24 ภายใต้หัวข้อ “อุตสาหกรรม 4.0” โดยมีนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ณ โรงแรมเดอะ เวสทิน สิเหร่ เบย์ รีสอร์ทแอนด์สปา ภูเก็ต เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อแสดงความมุ่งมั่น
ของรัฐบาลไทยที่พร้อมสนับสนุนความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม
และสนับสนุนผู้ประกอบการในเวทีการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการค้าเสรีที่จะนำไปสู่การพัฒนาทาง
เศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดีของประชาชนไทยและชาติเอเชีย
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในพิธีเปิดการประชุมว่า การค้าระหว่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ
ในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของทุกประเทศทั่วโลก โดยประเทศไทยส่งออกสินค้าและบริการเป็นสัดส่วน
สูงกว่า 77% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) การรวมกลุ่มความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงิน อาทิ ธนาคารเพื่อการส่งออก
และนำเข้าของชาติต่างๆ ในเอเชีย จึงเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความสะดวกและสนับสนุนทางการเงินให้แก่ผู้ประกอบการในภูมิภาค
ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงมี EXIM BANK ทำหน้าที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ดำเนิน
ภารกิจส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออก การนำเข้า และการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ นับตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา โดยขยายเครือข่าย
ความร่วมมืออย่างแข็งแกร่งกับองค์กรการเงินเพื่อการส่งออกในประเทศต่างๆ รวมถึงสมาชิก AEBF ที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวต่อไปว่า วิกฤตการเงินโลกที่ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอลงต่ำกว่าอัตราการ
เติบโตของจีดีพีโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนกระทั่งปี 2560 มูลค่าการค้าโลกเริ่มฟื้นตัว เติบโตที่ระดับ 4.7% สูงสุดในรอบ 6 ปี เป็นผล
จากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาฟื้นตัวและเศรษฐกิจจีนโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการของไทยขยายตัว 5.5% ในปี 2560 และขยายตัวต่อเนื่องในปี 2561 คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยทั้งปี 2561 อยู่ที่ 4.5% เป็นผลจากการเติบโตของ
ภาคการส่งออกไทยเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่ 8.0% ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง อาทิ ความขัดแย้ง
ทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อชาติในเอเชียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความตกลงเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างชาติ
ในเอเชียจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ช่วยลดผลกระทบดังกล่าว นำไปสู่การค้าเสรี ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความ
ยากจนของประชาชนในเอเชียในที่สุด ภารกิจส่วนหนึ่งของกระทรวงการคลัง ได้แก่ การทยอยลดอัตราภาษีนำเข้า ปรับปรุงกระบวนการ
ศุลกากร และพัฒนาระบบพิธีการหน้าต่างเดียวในอาเซียนเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจน
การส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์และขนส่งเชื่อมโยงประเทศไทยกับตลาดการค้าโลก โดยปัจจุบันประเทศไทยกำลัง
ก้าวสู่โมเดล “ไทยแลนด์ 4.0” ซึ่งรัฐบาลไทยกำหนดเป้าหมายจะพัฒนาอุตสาหกรรมในกลุ่ม S-Curve เชื่อมโยงกับการพัฒนาพื้นที่
อุตสาหกรรมเพื่อรองรับการลงทุน อาทิ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) โดยให้มาตรการจูงใจ
ด้านภาษี ประเทศไทยมิได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ของความเชื่อมโยงและร่วมมือกับประเทศอื่นในภูมิภาค เพื่อความมั่งคั่งและรุ่งเรืองของเอเชียอย่างยั่งยืน
นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้การกำกับดูแล
ของกระทรวงการคลัง มีเป้าหมายการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ จึงพร้อมดำเนินภารกิจ
สอดประสานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยมีข้อมูลและเครื่องมือ
ทางการเงินที่จะเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจในโลกการค้ายุคใหม่ ดำเนินธุรกิจการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศได้อย่างยั่งยืน โดยศึกษา
ต้นแบบจากประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ด้วยเหตุนี้ EXIM BANK จึงผลักดันให้เกิดการประชุมหารือในหัวข้อ
“อุตสาหกรรม 4.0” ในการประชุมประจำปีครั้งที่ 24 ของ AEBF ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมในปีนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
และประสบการณ์ในการส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถสร้างอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น รองรับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่
ท่ามกลางกระแสหรือเทรนด์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา กล่าวคือ การก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งผู้ประกอบการต้องปรับตัวครั้งใหญ่ในการ
นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ผลิตสินค้า สร้างกระบวนการผลิตอัจฉริยะเพื่อผลิตสินค้าที่หลากหลายและตรงกับความต้องการป้อนผู้บริโภค
ยุคใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดต้นทุน มีประสิทธิภาพ และครบวงจร สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่จะยกระดับการพัฒนา
ภาคการผลิต ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทยและภูมิภาคเอเชีย
นายพิศิษฐ์ เปิดเผยต่อไปว่า ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของเอเชียผนวกกับความร่วมมือระหว่างสมาชิก AEBF เพื่อลดอุปสรรค
ทางการค้าการลงทุนและแสวงหาโอกาสใหม่ร่วมกัน จะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างประเทศของเอเชีย ต่อยอดการ
เติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวมของเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะขยายตัว 5.6% ในปี 2561 และ
5.4% ในปี 2562 เป็นผลมาจากอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออกขยายตัวในเกณฑ์ดี ประกอบกับเม็ดเงินจากต่างประเทศ
ที่หลั่งไหลเข้ามายังภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ผลักดันให้ GDP ของประเทศในเอเชีย-แปซิฟิกขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกมาก นำไปสู่การพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานที่ยังเป็นที่ต้องการอีกกว่า 40 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะมีส่วนผลักดันให้เศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคและโลก
โดยรวมขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว
ทั้งนี้ การประชุมระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าในเอเชียจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อให้สมาชิก 11 ประเทศสมาชิก
ประกอบด้วย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย จีน อินเดีย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ตุรกี รวมทั้ง
ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) องค์กรสนับสนุนการเงินและการรับประกันการส่งออกของออสเตรเลีย (EFIC)
และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเวียดนาม (VDB) โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เป็นผู้สังเกตการณ์ถาวร มีศูนย์การส่งออกแห่ง
รัสเซีย (REC) และสำนักงานพัฒนาการส่งออกของแคนาดา (EDC) เป็นผู้สังเกตการณ์ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหารือร่วมกัน
ถึงแนวทางเสริมสร้างความร่วมมืออย่างแน่นแฟ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
นำไปสู่การพัฒนาของเอเชีย-แปซิฟิกอย่างยั่งยืน
“ผู้ที่ปรับตัวได้ทันในโลกยุคใหม่ย่อมมีความได้เปรียบ ขณะที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะนำไปสู่การพัฒนาในอนาคต EXIM BANK
จึงทำหน้าที่จัดการประชุมประจำปีของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าในเอเชียในปีนี้ ด้วยความมุ่งหวังจะขยายเครือข่ายข้อมูล
ข่าวสารและความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยและเอเชียให้ทันกระแส
การเปลี่ยนแปลงของโลกไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเอเชีย-แปซิฟิก” นายพิศิษฐ์กล่าว |
|
 |
|
 |
|
EXIM BANK มอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนเรียนดี ประพฤติดี ขาดแคลนทุนทรัพย์
ครอบครัวพนักงานบริษัทผู้ประกอบการ SMEs |
|
|
 |
|
 |
|
ดร.วโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล กรรมการ EXIM BANK และนายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK มอบทุนการศึกษา
ในโครงการ "ทุนน้ำใจ EXIM ให้สังคม" ให้แก่เด็กและเยาวชนที่เรียนดี ประพฤติดี ขาดแคลนทุนทรัพย์ ที่เป็นบุตรหรือธิดาของพนักงาน
บริษัทผู้ประกอบการ SMEs ใน 3 ระดับ ประกอบด้วยระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาหรือ ปวช. และอุดมศึกษาหรือ ปวส. รวมจำนวน 65
ทุน จำนวนรวม 920,000 บาท ภายใต้โครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของ EXIM BANK เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน
ได้มีโอกาสทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ เมื่อเร็วๆ นี้ |
|
 |
 |
|
EXIM BANK แถลงผลการดำเนินงานเดือนมกราคม-กันยายน 2561
สนับสนุนผู้ประกอบการไทยขยายการค้าและการลงทุนในตลาดโลกโตอย่างต่อเนื่อง
|
|
|
|
|
EXIM BANK เปิดเผยผลการดำเนินงานในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน 2561 สนับสนุนผู้ประกอบการไทยขยาย
การค้าและการลงทุนในตลาดโลกโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เงินให้สินเชื่อคงค้างขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี
ก่อน 12.81% เป็นจำนวน 95,817 ล้านบาท โดยกว่า 40% เป็นเงินให้สินเชื่อคงค้างแก่ SMEs
นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่าในปี 2561 EXIM BANK มีการพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจ
รวมทั้งพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บท EXIM BANK 10 ปี เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศในระยะยาวและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดย EXIM BANK มุ่งมั่นส่งเสริม
และสนับสนุนผู้ประกอบการไทยโดยการให้สินเชื่อ ค้ำประกัน รับประกันความเสี่ยง และบริการที่เกี่ยวเนื่อง ขณะเดียวกันได้ดำเนินตาม
นโยบายรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้มากขึ้น โดยสนับสนุนให้เข้าถึงบริการทางการเงินเพื่อให้สามารถแข่งขันได้
ทั้งทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ทำให้ผลการดำเนินงานของ EXIM BANK เป็นที่น่าพอใจ
กรรมการผู้จัดการเปิดเผยต่อไปว่า ผลการดำเนินงานของ EXIM BANK ในรอบ 9 เดือนของปี 2561 โดยมีเงินให้สินเชื่อคงค้าง
95,817 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,880 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.81 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อการค้า 29,732 ล้านบาท
และสินเชื่อเพื่อการลงทุน 66,085 ล้านบาท โดย EXIM BANK มีการปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และ
ขนาดใหญ่ (L) เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดปริมาณธุรกิจ (Business Turnover) 131,474 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นปริมาณธุรกิจของ SMEs
เท่ากับ 74,740 ล้านบาท และ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2561 มีเงินให้สินเชื่อคงค้างแก่ SMEs เท่ากับ 38,351 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.86%
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งหมดนี้เป็นผลให้ EXIM BANK มีกำไรสุทธิ 1,102 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.48% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน
นายพิศิษฐ์กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ EXIM BANK ยังมีการบริหารจัดการสินเชื่อด้อยคุณภาพให้มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มี
อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs Ratio) ณ สิ้นเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ 3.80% ลดลง 0.16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยมีสินเชื่อด้อยคุณภาพจำนวน 3,643 ล้านบาท และมีเงินสำรองหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 8,928 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,246 ล้านบาท
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นสำรองหนี้พึงกันตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 4,058 ล้านบาท คิดเป็น
อัตราส่วนเงินสำรองที่กันไว้แล้วต่อสำรองหนี้พึงกัน 220.02% ทำให้ EXIM BANK ยังคงดำรงฐานะการเงินที่มั่นคง
สำหรับการให้บริการประกันการส่งออกเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินจากคู่ค้าในต่างประเทศ ช่วยเพิ่มความ
มั่นใจและความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทย ทั้งในตลาดการค้าเดิมและตลาดใหม่ ในไตรมาส 3 ปี 2561 EXIM BANK มี
ปริมาณธุรกิจด้านการรับประกันการส่งออกและประกันความเสี่ยงการลงทุนเท่ากับ 64,793 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13,894 ล้านบาท เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นปริมาณธุรกิจของ SMEs จำนวน 11,604 ล้านบาท หรือ 17.91% ของปริมาณธุรกิจสะสมรวม
การสนับสนุนผู้ประกอบการไทยขยายฐานการค้าและการลงทุนไปยังต่างประเทศ ปัจจุบัน EXIM BANK มีวงเงินให้การสนับสนุน
สินเชื่อโครงการระหว่างประเทศรวมทั้งสิ้น 66,718 ล้านบาท และมีเงินให้สินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2561 จำนวน 38,218
ล้านบาท นอกจากนี้ ยังสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการขยายฐานการค้าและการลงทุนไปยังตลาดใหม่ (New Frontiers) โดยเฉพาะ
CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพของผู้ประกอบการไทย โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2561
มีเงินให้สินเชื่อคงค้างจำนวน 29,197 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2560 เท่ากับ 1,302 ล้านบาท ทั้งนี้ EXIM BANK มีแผนเปิด
สำนักงานผู้แทน (Representative Office) ในกลุ่มประเทศ CLMV เพิ่มเติมจากที่ได้เปิดสำนักงานผู้แทนในต่างประเทศแห่งแรก
ในย่างกุ้ง เมื่อปี 2560 และแห่งที่ 2 ในเวียงจันทน์ สปป.ลาว ซึ่งจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2561 จากนั้นปี 2562
จะดำเนินการเปิดสำนักงานผู้แทนในพนมเปญ กัมพูชาต่อไป เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนกับประเทศคู่ค้าหลักในกลุ่มประเทศ CLMV
และเพิ่มสัดส่วนการค้าและการลงทุนของผู้ประกอบการไทย
“EXIM BANK ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรและยุทธศาสตร์การค้าการลงทุนระหว่างประเทศ โดยเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี
ในการบริหารจัดการและบริการทางการเงินอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐและเอกชน
ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้สามารถเป็นที่พึ่งของผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยในตลาดโลกยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา”
นายพิศิษฐ์กล่าว |
|
 |
 |
|
EXIM BANK ร่วมพิธีถวายผ้ากฐินสามัคคี ประจำปี 2561 |
|
|
 |
 |
 |
|
นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นำคณะผู้บริหารและพนักงาน EXIM BANK ร่วมพิธีถวายผ้ากฐินสามัคคี
ประจำปี 2561 เพื่อสืบสานประเพณีทอดกฐินและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ณ วัดแทนวันดีเจริญสุข กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ |
|
 |
 |
|
EXIM BANK ปล่อยกู้ให้กิสโคผลิตและส่งออกเครื่องจักรงานหล่อโลหะ
สนับสนุนผู้ส่งออก SMEs ไทยแข่งขันในตลาดโลกด้วยสินค้านวัตกรรม |
|
|
 |
 |
 |
|
EXIM BANK สนับสนุนทางการเงินจำนวน 5 ล้านบาทให้แก่บริษัท กิสโค จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกเครื่องจักรและ
อุปกรณ์สำหรับงานหล่อโลหะ ภายใต้เทคโนโลยีและแบรนด์สินค้าของตนเอง “GISS Technology” ซึ่งเป็นที่รู้จักและ
ได้รับรางวัลระดับโลก สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ EXIM BANK ในการสนับสนุนทางการเงินให้ SMEs ที่มีศักยภาพ
มุ่งเน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตสินค้าให้แข่งขันได้ในตลาดโลก
นางวรรธนา มงคลศรี รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ลงนามในสัญญาสนับสนุนทางการเงินของ EXIM BANK จำนวน 5
ล้านบาท ให้แก่บริษัท กิสโค จำกัด โดยมีนายสงบ ธนบำรุงกูล กรรมการผู้จัดการ และ รศ.ดร.เจษฎา วรรณสินธุ์ ประธานบริหารและ
ผู้ถือหุ้นหลัก เป็นผู้ร่วมลงนาม ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อให้บริษัทนำไปใช้ขยายกิจการผลิตและส่งออกเครื่องจักร
และอุปกรณ์สำหรับงานหล่อโลหะ โดยใช้นวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสำหรับป้อนผู้ผลิตรายใหญ่ในอุตสาหกรรมยานยนต์และ
อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน ในญี่ปุ่น ฮุนได มอเตอร์ และแอลจี อีเลคทรอนิคส์ ในเกาหลีใต้
รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า EXIM BANK สนับสนุนทางการเงินในครั้งนี้ โดยสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์
ของ EXIM BANK ที่จะพัฒนา SMEs ที่มีศักยภาพให้ขยายการส่งออกได้มากขึ้น โดยมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิต
ซึ่งบริษัทเป็น SMEs ที่สามารถนำงานวิจัยและพัฒนา (R&D) มาต่อยอดไปสู่การผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าส่งออกที่มีเทคโนโลยี
นวัตกรรมซึ่งได้รับรางวัลระดับโลก นั่นคือ เทคโนโลยีการผลิตโลหะกึ่งของแข็งโดยการพ่นฟองแก๊สขณะแข็งตัว (Gas Induced Semi-
Solid Technology : GISS Technology) ที่ปิดจุดอ่อนของกระบวนการผลิตแบบเดิม ลดการเกิดฟองอากาศและของเสีย ทำให้งาน
หล่อโลหะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นประมาณ 20% ยืดอายุการใช้งานของแม่พิมพ์ได้ถึง 2 เท่า และลดต้นทุนการผลิตลงได้มาก
“EXIM BANK มุ่งเน้นการสนับสนุนให้ผู้ส่งออก SMEs ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของ
ประเทศไทยสามารถนำงานวิจัยและพัฒนามาสร้างนวัตกรรมและใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเงินทุน ทั้งนี้
เพื่อช่วยให้ผู้ส่งออกไทยแข่งขันได้ในตลาดระดับบนอย่างยั่งยืน” นางวรรธนากล่าว |
|
 |
 |
|
EXIM BANK สนับสนุนกลุ่มกัลฟ์พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ |
|
|
 |
 |
 |
|
นางวรางคณา วงศ์ข้าหลวง รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมลงนามกับนายสารัช รัตนาวะดี ประธานคณะกรรมการ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) นายโยชิโอะ โคเมตานิ กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานธุรกิจ
บริษัท มิตซุยแอนด์คัมปนี (ไทยแลนด์) จำกัด และสถาบันการเงินอีก 11 แห่ง ในสัญญาสนับสนุนทางการเงินจำนวนรวมกว่า 38,000
ล้านบาท ให้บริษัท กัลฟ์ เอสอาร์ซี จำกัด (GSRC) นำไปใช้ก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติขนาด 2,650 เมกะวัตต์ที่
นิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทอร์นซีบอร์ด อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ EEC ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ทดแทนโรงไฟฟ้าเดิม
ในประเทศที่จะทยอยหมดอายุ ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ |
|
 |
 |
|
EXIM BANK แต่งตั้งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และผู้อำนวยการฝ่ายดูแลงานกลยุทธ์องค์กร |
|
|
 |
|
EXIM BANK แต่งตั้งนางสาวดรัสวันต์ ชูวงษ์ เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และ ดร.ณัฐทิตา รุ่งวัฒนา เป็นผู้อำนวยการ
ฝ่ายกลยุทธ์องค์กร ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
EXIM BANK แต่งตั้งนางสาวดรัสวันต์ ชูวงษ์ เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ดูแลสายงานวิสาหกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุน
การส่งออกและการลงทุนทั้งในและต่างประเทศของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการและเสริมสร้าง
ความเชี่ยวชาญในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย และแต่งตั้ง ดร.ณัฐทิตา รุ่งวัฒนา เป็นผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์องค์กร ดูแลงานด้าน
การวางแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ การปรับเปลี่ยนและทบทวนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับทิศทางและสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
วิเคราะห์ผลการดำเนินงานของธนาคาร รวมทั้งตรวจประเมินคุณภาพองค์กรตามแนวทางระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป |
|
 |
|
 |
นางสาวดรัสวันต์ จบการศึกษาปริญญาโท สาขาการเงินและการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่ง
ผู้อำนวยการฝ่ายลูกค้าบรรษัทข้ามชาติและสำนักงานต่างประเทศ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ
ผู้อำนวยการฝ่ายลูกค้าบรรษัทข้ามชาติ และผู้อำนวยการฝ่าย Middle Market สายงานพาณิชย์ธนกิจ ธนาคาร
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ก่อนเข้าร่วมงานกับ EXIM BANK |
|
 |
|
 |
ดร.ณัฐทิตา จบการศึกษาปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและ
ภาคเอกชน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปริญญาโทและปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ เคยเป็นนักวิเคราะห์ ฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย นักวิจัยอาวุโส
ฝ่ายการเงินและการธนาคาร บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ผู้จัดการ ฝ่ายประเมินผล บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์
อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) และล่าสุดดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์องค์กร บริษัท อสมท จำกัด
(มหาชน) ก่อนจะเข้าร่วมงานกับ EXIM BANK |
|
|
|
|
|