|
เคนยามีความต้องการใช้ไฟฟ้าอีกมาก |
|
 |
|
“เคนยายังขาดแคลนไฟฟ้า อัตราการเข้าถึงไฟฟ้าเพียง 56%” |
|
|
|
 |
 |
 |
|
 |
 |
 |
|
“ความต้องการใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มเติบโตอีกมากจากการขยายตัวของเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรม” |
|
|
 |
|
เศรษฐกิจเคนยาขยายตัวสูงเฉลี่ยปีละ 6% และรัฐบาล
ตั้งเป้าเพิ่ม GDP ภาคอุตสาหกรรมภายใต้นโยบาย Big 4* |
|
คาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าของเคนยา |
|
|
 |
|
 |
|
* |
เคนยามีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจสำคัญ 4 ด้าน (Big4) คือ อาหาร สุขภาพ
ที่อยู่อาศัย และอุตสาหกรรม |
ที่มา : Lead Cost Power Development Plan 2017-2037 |
|
 |
 |
 |
|
“รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนชัดเจน” |
|
|
 |
|
Vision 2030* ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าอีกมาก |
|
|
 |
 |
 |
|
|
ที่มา : Lead Cost Power Development Plan 2017-2037
*เป้าหมายในการยกระดับประเทศไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมที่มีรายได้ปานกลางในปี 2573 |
|
|
 |
|
สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุน เช่น
• นักลงทุนต่างชาติลงทุนได้สูงสุด 100%
• ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10 ปี
• ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ในช่วงก่อสร้างโครงการ |
|
|
 |
 |
 |
|
โรงงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตอบโจทย์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในเคนยา |
|
|
 |
|
• รัฐบาลมีแผนส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เป็น 61% ในปี 2580 จาก 31% ในปี 2560 |
|
 |
 |
 |
|
ที่มา : Lead Cost Power Development Plan 2017-2037 |
|
 |
 |
|
• สร้างได้เร็ว ต้นทุนต่ำ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ Vision 2030 ที่ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกลง 30%
• มีความพร้อมด้านทรัพยากรสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น แหล่งผลิตพลังงานความร้อนใต้พิภพ
ใหญ่ติด 1 ใน 10 ของโลก ปัจจุบันใช้ไปเพียง 6% และมีพื้นที่ศักยภาพที่มีความเร็วลมสูงถึง 9.27 เมตรต่อวินาที |
|
 |
 |
 |
 |
 |
|
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพในเคนยา…โอกาสธุรกิจใหม่ของผู้ประกอบการไทย |
|
 |
|
พื้นที่ศักยภาพ พิจารณาจาก
• Resource : พื้นที่ที่มีความพร้อมด้านทรัพยากร
ความร้อนใต้พิภพ
• National Grid : อยู่ในพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับระบบ
สายส่งหลักของประเทศ
• Industrial Area : อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่อุตสาหกรรม
สำคัญของประเทศซึ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง |
 |
|
|
 |
|
ที่มา : Lead Cost Power Development Plan 2017-2037 |
|
 |
 |
|
ประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยควรพิจารณา
• ความสามารถของผู้รับซื้อไฟฟ้า
ควรพิจารณาความพร้อมและความสามารถทางการเงิน ทั้งผู้ซื้อขั้นต้นไปจนถึง End-buyer เพื่อดูศักยภาพว่าจะสามารถชำระ
ค่าไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง
• สัญญาซื้อ-ขายไฟฟ้า (PPA)
ควรเป็นสัญญาที่เป็นมาตรฐานสากลที่ระบุข้อกำหนดและเงื่อนไขสำคัญชัดเจน เช่น ราคารับซื้อไฟฟ้า ระยะเวลา ปริมาณรับซื้อไฟฟ้า
เป็นต้น
• หุ้นส่วนท้องถิ่น
แม้ผู้ประกอบการไทยสามารถลงทุนธุรกิจโรงไฟฟ้าได้ 100% แต่การมีหุ้นส่วนท้องถิ่นจะช่วยสร้างโอกาสในการเข้าถึงข่าวสาร
โครงการใหม่ๆ รวมถึงเข้าใจกฎระเบียบท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี (หรืออาจปรึกษาสำนักกฎหมายในเคนยาที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจ
พลังงาน)
• ที่ดิน
นักลงทุนต่างชาติสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ได้ 100% แต่มีข้อพึงระวัง เช่น
- ต้องไม่ใช่พื้นที่ทางการเกษตรที่รัฐบาลสงวนให้เกษตรกรท้องถิ่น
- ควรตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ถูกต้องและชัดเจน เนื่องจากบางกรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์มีหลายคน
- โฉนดที่ถือครองเป็นโฉนดปลอมหรือไม่ใช่ฉบับคัดล่าสุด
- โฉนดต้องมีระยะปักหมุดตรงตามพื้นที่จริง
หน่วยงานสำคัญด้านพลังงานของเคนยา
• ผู้กำหนดนโยบาย/กำกับดูแล/ให้สัมปทาน : Ministry of Energy (MOE)
• ผู้ผลิตไฟฟ้าหลัก : The Kenya Electricity Generating Company (KenGen), Geothermal Development Company (GDC)
(หน่วยงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ)
• ผู้กระจายไฟฟ้า : Kenya Power and Lighting Company (KPLC)
• ผู้ดูแลระบบสายส่ง : Kenya Electricity Transmission Company Limited (KETRACO) |
|
 |
 |
 |