Page 8 - 2566_หนังสือกฐิน_วัดพระธาตุช่อแฮ.indd
P. 8

7






            จะใหเปนที่ตั้งมั่นในพระพุทธศาสนาขณะที่ยังมีพระชนมอยู ฉับพลันพระธาตุ
            เสด็จไปยังสถานที่ตาง ๆ ๒๒ แหง ซึ่งรวมถึง “ดอยโกสิยธชัคบรรพต (ดอยแหง

            ผาแพรอันงดงาม)” และไดมีการสรางพระเจดียไวบนดอยในเวลาตอมา โดยบรรจุ
            พระบรมสารีริกธาตุสวนศอกดานซายในทองสิงหในอุโมงคและปดปากถ้ำไว
            เจาเมืองและประชาชนมีธรรมเนียมการสักการบูชาพระธาตุดวยชอแพร จึงเปน
            ที่มาของชื่อพระธาตุชอแพรหรือพระธาตุชอแฮดังเชนในปจจุบัน



                  สำหรับหลักฐานทางประวัติศาสตรเกี่ยวกับการสรางพระธาตุชอแฮ ปรากฏ
            ในจารึกสมัยสุโขทัย สอดคลองกับบทสันนิษฐานวา พระมหาธรรมราชาลิไท
            ในขณะดำรงตำแหนงพระมหาอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย ทรงเปนผูสรางพระธาตุ

            ชอแฮราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙


            ๒) ศาสนสถานภายในพระอาราม
                  พระธาตุชอแฮ เปนพระธาตุประจำปเกิดของผูเกิดปขาล หนึ่งในพระธาตุ
            ๑๒ ราศีตามความเชื่อของชาวลานนา มีขนาดกวางยาวเปนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส

            ๑๑ เมตร สูง ๓๓ เมตร ฐานลางสุดเริ่มตนดวยฐานเขียง ตอดวยชุดฐานเขียงใน
            ผังแปดเหลี่ยมขนาดเล็กลงมาซอนกัน ๓ ชั้น สวนรองรับองคระฆังหรือมาลัยเถา
            มีลักษณะเปนชุดบัวถลาในผังแปดเหลี่ยมจำนวน ๗ ชั้น เพิ่มความสูงของพระธาตุ
            เจดียดวยการยืดความสูงของสวนหนากระดาน ไมเนนสวนบัวคว่ำของชุดบัวถลา
            ชั้นบัวถลามีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับชั้นหนากระดาน เฉพาะชุดบัวถลาบนสุด
            ตกแตงทองไมดวยกลับบัวหงายซอนกัน ๒ ชั้น มีบัวปากระฆัง ตอดวยองคระฆัง
            ขนาดเล็กในผังแปดเหลี่ยม เหนือองคระฆังเปนบัลลังก แบบฐานปทมยอเก็จรับกับ
            องคระฆัง ปลองไฉนกลมซอนกัน ๘ ชั้น ตอดวยบัวจงกล ๒ ชั้น และยอดฉัตร ๙
            ชั้น เปนรูปดอกบัวบานขนาดเล็กทรงพุม ศิลปะแพร บนสุดเปนปลีบัวทองคำ รูป

            พุมทรงดอกบัวบานประดับอัญมณี ซึ่งบูรณะใหมเมื่อป ๒๕๕๓ บริเวณของพระธาตุ
            เจดียมีกำแพงแกว ๔ ทิศ มีซุมประตูทรงปราสาทศิลปะลานนาเปนทางเขาออก
            ทั้ง ๔ ดาน
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13