 |
 |
 |
|
EXIM BANK จับมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 65 แห่ง ผนึกกำลังส่งเสริม SMES ไทย
• • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • |
|
|
 |
|
 |
 |
|
นายเขมทัศน์ สายเชื้อ รักษาการกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมลงนามกับผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการเงิน
และสถาบันการศึกษาต่างๆ รวม 65 แห่ง ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “สานพลังประชารัฐ ส่งเสริม SMEs Start-up & Social
Enterprises” เพื่อเพิ่มศักยภาพ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมี ดร.สมคิด
จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานร่วมภาครัฐ
และนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานร่วมภาคเอกชน ณ อาคารไซเบอร์เวิลด์ กรุงเทพฯ
เมื่อเร็วๆ นี้ |
|
|
 |
 |
 |
|
 |
|
EXIM BANK ร่วมสนับสนุนการพัฒนา
เขตเศรษฐกิจพิเศษเชื่อมโยง AEC
• • • • • • • • • • • • • • • • • • • • |
นายวิเชฐ ตันติวานิช กรรมการ EXIM BANK และ
นายเขมทัศน์ สายเชื้อ รักษาการกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK
ให้การต้อนรับ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ณ บูท
EXIM BANK อาคาร Cyber World กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ ในงาน
สัมมนา “10 เขตเศรษฐกิจพิเศษ โอกาสทองสู่ AEC” จัดโดย
บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมี
EXIM BANK เข้าร่วมสนับสนุนการจัดงานในกรุงเทพฯ และอีก 10
จังหวัดที่เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อประโยชน์ในการ
ส่งเสริมการเชื่อมโยงเส้นทางการค้าการลงทุนและเศรษฐกิจไทย
กับ AEC โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล |
|
|
|
 |
 |
 |
|
EXIM BANK จับมือกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสถาบันการเงิน 13 แห่ง สนับสนุนสินเชื่อเพื่อ SMEs
• • • • • • • • • • • • • • • • • • • |
|
|
 |
|
 |
|
นายเขมทัศน์ สายเชื้อ รักษาการกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ร่วมลงนามกับ ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
อุตสาหกรรม ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารพาณิชย์
รวม 13 แห่ง ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)” เพื่อ
เพิ่มขีดความสามารถและเสริมสร้างศักยภาพให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งเพื่ออำนวยความสะดวก
ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ณ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อเร็วๆ นี้ |
|
|
 |
 |
|
 |
|
EXIM BANK จัดหนักทวีค่าส่งออก ดอกเบี้ย 3.99%
ให้สินเชื่อแถมประกัน “ส่งออก ได้เงินแน่นอน” พร้อมบริการรับซื้อตั๋วส่งออก
• • • • • • • • • • • • • • • • • • • • |
EXIM BANK เปิดตัว “สินเชื่อส่งออกทวีค่า” สินเชื่อ
แถมประกันการส่งออก ช่วยผู้ส่งออกให้มีสภาพคล่อง
พร้อมความมั่นใจว่า “ส่งออก ได้เงินแน่นอน” และ “บริการ
รับซื้อตั๋วส่งออกทวีค่า” สินเชื่อหมุนเวียนช่วงหลังการส่งออก
ทั้งสองบริการให้วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาทต่อราย เป้าหมาย
วงเงินอนุมัติสินเชื่อรวม 15,000 ล้านบาท คาดว่าจะช่วย
เพิ่มมูลค่าส่งออกของประเทศได้สูงถึง 1,668 ล้านดอลลาร์
สหรัฐ
นายมนัส แจ่มเวหา ประธานกรรมการ EXIM BANK แถลง
ข่าวแก่สื่อมวลชนในโอกาสครบรอบ 22 ปี EXIM BANK เมื่อวันที่ |
|
|
 |
|
|
|
17 กุมภาพันธ์ 2559 ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ ว่า EXIM BANK พร้อมร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนที่จะผลักดันให้การส่งออก
ขยายตัวได้ตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ร้อยละ 5 โดยเสนอจัด Promotion พิเศษ “EXIM จัดหนัก ทวีค่าส่งออก” ตลอดทั้งปี
เริ่มต้นจาก 2 บริการที่จะช่วยให้ผู้ส่งออกมีเงินทุนหมุนเวียนแถมประกันการส่งออกในต้นทุนการเงินที่ต่ำกว่าปกติ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย
ลดพิเศษเหลือร้อยละ 3.99 ในปีแรก ประกอบด้วย สินเชื่อส่งออกทวีค่าและบริการรับซื้อตั๋วส่งออกทวีค่า
“สินเชื่อส่งออกทวีค่า” เป็นสินเชื่อหมุนเวียนช่วงก่อนและหลังการส่งออกสำหรับ SMEs แถมการชดเชยความเสียหายจากการ
ไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยได้รับการยกเว้นค่าวิเคราะห์ผู้ซื้อและค่าเบี้ยประกัน วงเงินหมุนเวียนสูงสุด 20
ล้านบาทต่อรายหรือเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเทียบเท่า วงเงินรับประกันสูงสุด 5 ล้านบาท มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนลูกค้ารายใหม่และ
ลูกค้าปัจจุบันที่ต้องการบุกตลาดใหม่หรือส่งออกผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อย่างมีสภาพคล่องและมั่นใจได้ว่า “ส่งออกแล้ว ได้เงินแน่นอน”
สำหรับ “บริการรับซื้อตั๋วส่งออกทวีค่า” เป็นบริการสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ SMEs ภายหลังจากที่มีการส่งออกแล้ว
วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาทต่อราย ผู้กู้ไม่ต้องมีหลักประกัน ใช้เพียงบุคคลค้ำประกันเท่านั้น
ประธานกรรมการ EXIM BANK เปิดเผยต่อไปว่า EXIM BANK ตั้งเป้าหมายที่จะอนุมัติวงเงินใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs
ภายใต้บริการสินเชื่อส่งออกทวีค่าจำนวน 10,000 ล้านบาท และบริการรับซื้อตั๋วส่งออกทวีค่า จำนวน 5,000 ล้านบาท เป้าหมายวงเงิน
อนุมัติสินเชื่อรวม 15,000 ล้านบาทดังกล่าวคาดว่าจะมีส่วนสนับสนุนให้เกิดการส่งออกเพิ่มขึ้นคิดเป็นมูลค่า 1,668 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่ยังมีเงินทุนไม่เพียงพอและไม่มั่นใจที่จะเริ่มต้นธุรกิจส่งออกหรือส่งออกไปยัง
ตลาดใหม่ที่ไม่คุ้นเคย
“ตลอดปี 2559 EXIM BANK จะพัฒนาแพ็กเกจทางการเงินใหม่ๆ ออกมาตอบโจทย์ความต้องการของภาครัฐและเอกชน โดย
มุ่งเน้นการสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศของ SMEs ไทย การวิจัยพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างแบรนด์ที่แตกต่าง การปรับปรุงประสิทธิภาพ
การผลิตหรือขยายฐานการลงทุนไปต่างประเทศ การพัฒนาพลังงานทดแทน โลจิสติกส์ เขตเศรษฐกิจพิเศษ การสนับสนุนการส่งออกและ
บริการของไทยโดยให้แพ็กเกจทางการเงินแก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปจนถึงการเสริมสร้างความรู้ทางการเงินให้แก่ผู้ประกอบการและ
ประชาชนทั่วไป เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการเติบโตของภาคการส่งออกและเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว” นายมนัส กล่าว
|
|
|
 |
 |
 |
|
EXIM BANK รุกขยายสินเชื่อส่งเสริมนวัตกรรมยกระดับธุรกิจส่งออกของไทยให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน
• • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • |
|
|
 |
 |
|
EXIM BANK ลงนามร่วมกับ สวทช. ใน MOU โครงการ
สนับสนุนเงินทุนเพื่อการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม
สำหรับภาคเอกชน |
|
EXIM BANK ลงนามร่วมกับ สนช. ใน MOU การส่งเสริม
และยกระดับธุรกิจนวัตกรรมเพื่อการส่งออกและนำเข้า
และโครงการนวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย |
|
|
 |
 |
 |
|
นายเขมทัศน์ สายเชื้อ รักษาการกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ภาคการส่งออกของไทยซึ่งเป็นรายได้หลักของ
ประเทศมีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่องมาตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ยังผลิตสินค้า
พื้นฐานซึ่งนับวันจะแข่งขันได้ยากขึ้นภายหลังไทยถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีจากประเทศพัฒนาแล้ว นั่นหมายถึงการจะผลักดันการ
เติบโตของภาคการส่งออกของไทยจำเป็นต้องอาศัยการยกระดับคุณภาพสินค้าและสร้างเอกลักษณ์ของสินค้าแบรนด์ไทย เพื่อให้สินค้า
และแบรนด์ของไทยได้รับการยอมรับในระดับสากลและขยายส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้นและยั่งยืนในระยะยาว ในปี 2558 ที่ผ่านมา
EXIM BANK จึงพัฒนาบริการสินเชื่อ SMEs เพื่อการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมขึ้น เป็นเงินกู้ระยะสั้น อัตราดอกเบี้ยพิเศษ ยกเว้น
ค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้ทุกประเภท วงเงินสูงสุด 5 ล้านบาทต่อราย และยังคงขยายบริการดังกล่าวผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ
และเอกชนที่เกี่ยวข้องอย่างมีบูรณาการ โดยปรับเงื่อนไขให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานพันธมิตร
นายเขมทัศน์ เปิดเผยต่อไปว่า ในปี 2559 EXIM BANK มีนโยบายมุ่งเน้นการส่งเสริมเรื่องนี้ให้เข้มข้นยิ่งขึ้น จึงได้จับมือกับ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นองค์กรหลักของประเทศในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยรักษาการ
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ได้ลงนามกับนางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ (สวทช.) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใน MOU “โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการวิจัย พัฒนา และ
วิศวกรรมสำหรับภาคเอกชน” เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ ซึ่ง EXIM BANK และ สวทช.
จะร่วมกันให้เงินทุนสนับสนุนให้นำงานวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรมและ
พาณิชยกรรมต่อไป โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนเกิดความคิดริเริ่มในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ
อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ภายใต้ความร่วมมือนี้ EXIM BANK จะให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำในสัดส่วน
1 ใน 3 ของเงินลงทุนโครงการ และ สวทช. จะสนับสนุนอีก 2 ใน 3 โดยมีวงเงินรวมไม่เกินโครงการละ 30 ล้านบาท ระยะเวลาเงินกู้
ไม่เกิน 7 ปี (รวมระยะปลอดการชำระคืนเงินต้น 2 ปี) ซึ่งจะคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินครึ่งหนึ่งของอัตราดอกเบี้ยฝากประจำ 1 ปี + 1.125%
ต่อปีตลอดระยะเวลากู้
นอกจากนี้ รักษาการกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ยังได้ลงนามกับนายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรม
แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “การส่งเสริม
และยกระดับธุรกิจนวัตกรรมเพื่อการส่งออกและนำเข้า” และสัญญาให้การสนับสนุนดอกเบี้ยเงินกู้ในโครงการ “นวัตกรรมดี...ไม่มี
ดอกเบี้ย” ภายใต้ MOU ดังกล่าว EXIM BANK และ สนช. จะร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยพัฒนานวัตกรรมของธุรกิจส่งออกและ
นำเข้าผ่านโครงการต่างๆ พร้อมทั้งติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการ รวมถึงแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น โดย
เริ่มต้นจากโครงการแรก ได้แก่ “นวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย” ซึ่ง EXIM BANK จะให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ประกอบการที่ใช้
นวัตกรรมผลิตและส่งออกสินค้า โดยมี สนช. เป็นผู้ชำระดอกเบี้ยให้แก่ EXIM BANK แทนผู้ประกอบการเป็นระยะเวลา 3 ปี วงเงิน
สนับสนุนดอกเบี้ยสูงสุด 5 ล้านบาทต่อโครงการ
“EXIM BANK ต้องการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมของธุรกิจส่งออกและนำเข้า รวมทั้งการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีหรือวิศวกรรมทาง
วิทยาศาสตร์ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในภาคการผลิต อุตสาหกรรม และการค้าได้ต่อไป ทำให้ผู้ประกอบการไทยแข่งขันได้มากขึ้น
มีอำนาจการเจรจาต่อรองทางการค้าเพิ่มมากขึ้น มีประสิทธิภาพทางการผลิตในระดับสากล นำไปสู่การเติบโตของภาคการส่งออกและ
การพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน” นายเขมทัศน์ กล่าว |
|
|
 |
 |
 |
|
 |
|
EXIM BANK แถลงผลการดำเนินงานปี 2558
• • • • • • • • • • • • • • • • • • • • |
นายเขมทัศน์ สายเชื้อ รักษาการกรรมการผู้จัดการ EXIM
BANK แถลงผลการดำเนินงานของ EXIM BANK ในปี 2558 ว่า
EXIM BANK มีกำไรสุทธิ 1,520 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก 1,516
ล้านบาทในปีก่อน โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2558 มีเงินให้
สินเชื่อคงค้างจำนวน 73,540 ล้านบาท เป็นสินเชื่อใหม่ที่เบิกจ่าย
เพิ่มขึ้นในระหว่างปีจำนวน 20,307 ล้านบาท และมีอัตราส่วน
สินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคาร (NPLs Ratio) ณ สิ้นเดือน
ธันวาคม 2558 อยู่ที่ร้อยละ 5.43 เป็นจำนวน 3,993 ล้านบาท รวมทั้งมีเงินสำรองหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 5,654 ล้านบาท โดย
เป็นสำรองหนี้พึงกันตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน
2,890 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินสำรองที่กันไว้แล้วต่อสำรอง
พึงกันร้อยละ 195.65 |
|
|
|
|
ธุรกิจของ EXIM BANK ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ สินเชื่อและรับประกัน การสนับสนุนสินเชื่อของ EXIM BANK แก่
ผู้ประกอบการไทยในปี 2558 ทำให้เกิดปริมาณธุรกิจ (Business Turnover) 136,634 ล้านบาท และเงินให้สินเชื่อคงค้างจำนวน 73,540
ล้านบาท ด้านรับประกันมีส่วนทำให้เกิดปริมาณธุรกิจส่งออกและลงทุนรวม 64,386 ล้านบาท โดย 10,142 ล้านบาทเป็นธุรกิจส่งออก
ของ SMEs หรือร้อยละ 15.75 ของธุรกิจรับประกันรวม ทั้งนี้ มียอดรับประกันคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2558 จำนวน 15,497 ล้านบาท
การสนับสนุนผู้ส่งออก SMEs เป็นนโยบายหนึ่งที่สำคัญของ EXIM BANK โดยธนาคารได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงาน
ภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทำให้มีลูกค้า SMEs เพิ่มมากขึ้น โดยลูกค้า SMEs คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 87 ของลูกค้าทั้งหมด
และมีการอนุมัติวงเงินเพิ่มใหม่ในปีเท่ากับ 32,009 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินอนุมัติสะสมที่ลูกค้าสามารถเบิกใช้สินเชื่อได้ 73,861 ล้านบาท
ทำให้เกิดปริมาณธุรกิจทั้งปีของ SMEs เท่ากับ 81,767 ล้านบาท และมีเงินให้สินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นปี จำนวน 29,183 ล้านบาท
ด้านการสนับสนุนตามยุทธศาสตร์ของประเทศและนโยบายรัฐ เช่น สนับสนุนโครงการพัฒนาพลังงานทดแทน สนับสนุน
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของประเทศ และอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง และสนับสนุน
ผู้ประกอบการพาณิชยนาวีและโลจิสติกส์อื่นๆ EXIM BANK มีการอนุมัติวงเงินสินเชื่อเพื่อพัฒนาประเทศเพิ่มใหม่ในปีจำนวน 11,217
ล้านบาท รวมเป็นวงเงินอนุมัติสะสมจำนวน 46,411 ล้านบาท และมีเงินให้สินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2558 เท่ากับ 27,565
ล้านบาท
ด้านการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศโดยสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ EXIM BANK ที่จะเป็นธนาคาร
ที่สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยเข้าสู่เวทีโลก โดยเฉพาะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
ปัจจุบัน EXIM BANK มีวงเงินอนุมัติสะสมของสินเชื่อเพื่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศ AEC รวม 87,099 ล้านบาท
โดยเป็นวงเงินอนุมัติเพิ่มใหม่ในปีเท่ากับ 25,589 ล้านบาท ขณะที่เงินให้สินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2558 เท่ากับ 41,628
ล้านบาท ในขณะเดียวกัน EXIM BANK ยังได้ให้การสนับสนุนด้านการป้องกันความเสี่ยงเพื่อผลักดันให้การค้าการลงทุนระหว่างประเทศ
กับ AEC ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีวงเงินป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ประกอบการอยู่ที่ 26,551 ล้านบาท
รักษาการกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า ในปี 2559 EXIM BANK จะมีบทบาทในเชิงรุกทางการตลาดมากขึ้น โดยปรับ
โครงสร้างองค์กรให้มีฝ่ายกลยุทธ์การตลาด ดูแลงานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกำหนดกลยุทธ์การตลาด เพื่อให้ผู้ประกอบการไทย
เข้าถึงบริการทางการเงินของ EXIM BANK ได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนเพื่อเริ่มต้นธุรกิจส่งออกหรือขยายธุรกิจส่งออกอย่างมั่นใจ
โดยใช้สินเชื่อและบริการประกันการส่งออกและการลงทุนของ EXIM BANK เงินทุนเพื่อวิจัยพัฒนานวัตกรรม เงินทุนเพื่อค้าขายชายแดน
หรือเข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชายแดน รวมทั้งพื้นที่อื่นๆ ที่รัฐบาลส่งเสริมการลงทุน ตลอดจน EXIM
BANK จะจัดตั้งหน่วยงานให้ความรู้ทางการเงินแก่ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการบริหาร
จัดการธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและแข่งขันได้ในระยะยาว โดยชูจุดเด่นของแบรนด์ไทยในตลาดโลก |
|
|
 |
 |
 |
|
EXIM BANK ครบรอบ 22 ปี
• • • • • • • • • • • • • • • • • • • • |
|
|
 |
|
• SME BANK ร่วมยินดี
นายมนัส แจ่มเวหา ประธานกรรมการ EXIM BANK
พร้อมด้วยนายเขมทัศน์ สายเชื้อ รักษาการกรรมการผู้จัดการ
EXIM BANK รับมอบของที่ระลึกแสดงความยินดีจากนายมงคล
ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) ในโอกาสที่
EXIM BANK เปิดดําเนินการครบรอบ 22 ปี ณ EXIM BANK
สํานักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้
|
|
 |
|
|
 |
|
• กระทรวงการคลังร่วมยินดี
นายเขมทัศน์ สายเชื้อ รักษาการกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK และผู้บริหาร EXIM BANK รับมอบกระเช้าดอกไม้แสดง
ความยินดีจากผู้แทนกระทรวงการคลัง ในโอกาสที่ EXIM BANK
เปิดดําเนินการครบรอบ 22 ปี ณ EXIM BANK สํานักงานใหญ่
เมื่อเร็วๆ นี้
|
|
 |
|
|
 |
 |
 |
|
 |
|
EXIM BANK ร่วมออกบูท
ในงานมหกรรมการเงินพัทยา ครั้งที่ 6
• • • • • • • • • • • • • • • • • • • |
นายเขมทัศน์ สายเชื้อ รักษาการกรรมการผู้จัดการ EXIM
BANK ให้การต้อนรับนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการคลัง นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา และ
นายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานบรรณาธิการ วารสารการเงิน
ธนาคาร และประธานการจัดงานมหกรรมการเงิน ณ บูท EXIM
BANK ซึ่งจัด Promotion พิเศษ “EXIM จัดหนัก ทวีค่าส่งออก”
ดอกเบี้ยพิเศษ 3.99% ต่อปี ประกอบด้วย สินเชื่อส่งออกทวีค่า สินเชื่อแถมประกันการส่งออก ช่วยให้ผู้ส่งออกมีสภาพคล่อง
พร้อมความมั่นใจว่าส่งออกแล้วได้เงินแน่นอน และบริการรับซื้อตั๋ว
ส่งออกทวีค่า สินเชื่อหมุนเวียนช่วงหลังการส่งออก ในงาน
มหกรรมการเงินพัทยา ครั้งที่ 6 ณ ศูนย์ประชุมพีช รอยัล คลิฟ
โฮเต็ล กรุ๊ป จ.ชลบุรี เมื่อเร็วๆ นี้ |
|
|
|
 |
 |
 |
|
 |
|
EXIM BANK แต่งตั้งรองกรรมการผู้จัดการ
• • • • • • • • • • • • • • • • • • • |
EXIM BANK แต่งตั้ง ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร เป็นรองกรรมการผู้จัดการ ดูแลงานวางแผนกลยุทธ์
องค์กรและกลยุทธ์การตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและ
เอกชน การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางการเงินให้แก่ประชาชน การวิเคราะห์และจัดทำข้อมูล
ผลการดำเนินงาน วิจัยธุรกิจ และวิเคราะห์สินเชื่อ ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นไป
ดร.รักษ์ จบการศึกษาปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ และปริญญาโท สาขาการวิจัยการดำเนินงาน
จาก มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ (Strathclyde Business School) สหราชอาณาจักร ปริญญาโท สาขา
การบริหารกลยุทธ์ จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม (Birmingham Business School) สหราชอาณาจักร
และปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการโครงการวิจัยกลุ่ม
วิสาหกิจยานยนต์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ |
|
|
|
|
และเทคโนโลยี หัวหน้าคณะที่ปรึกษาภูมิภาคเอเชียใต้ ฝ่ายนโยบายด้านรัฐกิจและกิจการสัมพันธ์ บริษัท เชฟรอนเอเชียเซ้าท์ จำกัด
และรองกรรมการผู้จัดการ สายพัฒนาธุรกิจและการตลาด บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ก่อนเข้าร่วมงานกับ EXIM BANK
ดร.รักษ์ ดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานธุรกิจรายย่อย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย |
|
|
 |
 |
|