 |
 |
|
เมียนมา…Super Highway สู่พี่ใหญ่แห่งเอเชีย |
|
|
 |
 |
|
 |
เมียนมาเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยประเทศเดียวที่มีพรมแดน
ติดกับสองตลาดยักษ์ใหญ่ของโลก คือ อินเดียและจีนที่มีประชากรรวมกัน
ราว 2,600 ล้านคน หรือเกือบ 40% ของประชากรทั้งโลก ขณะเดียวกัน
ทั้งสองประเทศพี่ใหญ่แห่งเอเชียก็ให้ความสำคัญในการสร้างความร่วมมือ
กับภูมิภาค CLMVT (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย)
มากขึ้น โดยเฉพาะการใช้เมียนมาเป็นหนึ่งในประตูสู่ CLMVT และอาเซียน
ดังนั้น ในทางกลับกันไทยย่อมสามารถใช้เมียนมาเป็น Super Highway
สู่อินเดียและจีนได้เช่นกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการขยาย
ตลาดการค้าการลงทุนของไทยในระยะถัดไป
• อินเดีย Act East สู่ IMT Trilateral Highway
ปักหมุดเมียนมาเชื่อมโยงอาเซียน
นายกรัฐมนตรี Narendra Modi ของอินเดียประกาศยุทธศาสตร์
รุกตะวันออก (Act East) ที่มุ่งให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียตะวันออก
และอาเซียนผ่านความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม โดยมีทางหลวง India-
Myanmar-Thailand (IMT) Trilateral Highway เป็นโครงการสำคัญหนึ่ง
ที่รัฐบาลอินเดียเร่งผลักดันเพื่อปักหมุดเมียนมาเป็นประตูเชื่อมโยงอินเดีย
สู่ไทยและอาเซียน เพื่อขยายโอกาสการค้าการลงทุนระหว่างกัน โดย
อินเดียตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าการค้ากับเมียนมาเป็น 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภายในปี 2563 จากราว 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2558 ขณะที่
อินเดียตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าการค้ากับอาเซียนเป็น 200,000 ล้านดอลลาร์
สหรัฐในปี 2565 จากราว 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2558 |
|
|
 |
 |
|
 |
 |
 |
|
 |
 |
|
• One Belt, One Road ของจีน…ใช้เมียนมาเป็นประตูเปิดสู่มหาสมุทรอินเดีย
- จีนวางยุทธศาสตร์ให้เมียนมาเป็นประตูออกสู่มหาสมุทรอินเดียให้แก่มณฑลตอนในของจีนผ่านทางยูนนาน ภายใต้นโยบาย One
Belt, One Road (OBOR)* รัฐบาลจีนมุ่งสนับสนุนการพัฒนาโครงการเชื่อมโยงเส้นทางจากนครคุนหมิงเมืองหลวงของมณฑลยูนนานไปยัง
ท่าเรือน้ำลึกเจ้าผิว (Kyaukpyu) ในเมียนมา ระยะทางรวม 1,922 กิโลเมตร โดยเส้นทางดังกล่าวจะผ่าน Ruili เมืองชายแดนของจีนเชื่อม
ไปยัง Muse เมืองชายแดนในรัฐฉานของเมียนมาลงมายังเมืองมัณฑะเลย์ออกสู่มหาสมุทรอินเดียที่รัฐยะไข่บริเวณท่าเรือน้ำลึกเจ้าผิว ซึ่งเป็น
ส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิว (Kyaukpyu Special Economic Zone) ภายใต้การดำเนินการของกิจการร่วมค้า ซึ่ง
นำโดย CITIC Group Corporation ของจีนที่ชนะการประมูลในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมภายใต้โครงการพัฒนาเขต
เศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิว
เป็นที่น่าสังเกตว่า เส้นทาง OBOR มีการเชื่อมโยงกับโครงการทางหลวง IMT Trilateral Highway โดยมีทางแยกที่เชื่อมไปยัง
อินเดียและจีนที่เมืองมัณฑะเลย์ ทำให้มัณฑะเลย์เป็นเมืองศูนย์กลาง (Hub) การค้าและการลงทุนสำคัญในการเชื่อมต่อกับตลาดอินเดีย
และจีน รวมถึงการขยายตลาดเมียนมาตอนบน เนื่องจากมัณฑะเลย์เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจสำคัญทางตอนบนของเมียนมา
|
|
|
|
 |
 |
|
ภาพจาก http://thediplomat.com |
|
|
 |
 |
|
• โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทย
- เส้นทางการค้าใหม่ ผู้ประกอบการไทยสามารถใช้ประโยชน์จากโครงการเชื่อมโยงทางหลวง IMT Trilateral Highway เพื่อ
กระจายสินค้าจากไทยผ่านเมียนมาต่อไปยังรัฐมณีปุระ เพื่อเจาะตลาดอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือหรือที่รู้จักกันในชื่อ "The Seven Sisters
of India" ซึ่งเป็นพื้นที่ตลาดใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีคู่แข่ง แต่มีประชากรรวมกันถึงกว่า 40 ล้านคน และผู้บริโภคส่วนใหญ่ชื่นชอบและเชื่อมั่นว่า
สินค้าไทยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะชาวไทอาหม (Tai Ahom) ซึ่งมีความนิยมสินค้าไทยค่อนข้างมาก และมีวัฒนธรรมหลายอย่าง
คล้ายคลึงกับคนไทย (สันนิษฐานว่าชาวไทอาหมสืบชาติพันธุ์มาจากต้นตระกูลเดียวกันกับคนไทย) นอกจากนี้ เส้นทางดังกล่าวยังแยกไปสู่
ตลาดจีนตอนในผ่านทางนครคุนหมิงที่มีเครือข่ายคมนาคมพร้อมรองรับการกระจายสินค้าไปเทศบาลนครฉงชิ่งและเมืองเฉิงตูในมณฑลเสฉวน
ซึ่งผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
- การขยายฐานการผลิตสินค้า เมียนมานับเป็นประเทศยุทธศาตร์สำคัญที่สองยักษ์ใหญ่อย่างอินเดียและจีนเร่งปักหมุดพัฒนา
ความสัมพันธ์ทางการค้าและการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ทำให้เมียนมาเป็นฐานการผลิตที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทยในการขยาย
การลงทุน โดยเฉพาะในเมืองย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ที่มีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคมากกว่าพื้นที่อื่น และยังสามารถเชื่อมต่อไปยังตลาด
อินเดียและจีน ซึ่งเป็นแต้มต่อของเมียนมา นอกเหนือจากที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี GSP จากตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ EU และญี่ปุ่น
- ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง เส้นทาง IMT Trilateral Highway และ OneBelt, One Road จะช่วยอำนวยความ
สะดวกในการเดินทางและกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ ธุรกิจโรงแรม บริการนำเที่ยว และร้านอาหาร เป็นต้น ตาม
เส้นทางที่เชื่อมต่อถึงกัน อาทิ เมืองมะละแหม่ง และเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญและยังขาดแคลนสาธารณูปโภคด้าน
การท่องเที่ยว
_____________________ |
|
|
 |
|
* |
One Belt, One Road เป็นยุทธศาสตร์ที่ประธานาธิบดี Xi Jinping ประกาศเมื่อปี 2556 โดย One Belt หมายถึง Silk Road Economic Belt เป็นเส้นทาง
ทางบกที่เชื่อมโยงจีนกับยุโรปผ่านเอเชียกลางและเอเชียตะวันตก ขณะที่ One Road หมายถึง Maritime Silk Road เป็นเส้นทางทางทะเลที่เชื่อมโยง
ระหว่างจีนกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา และยุโรป ผ่านทะเลจีนใต้ มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ |
|
 |
|
 |
 |
|
Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น
โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ ไม่ว่าโดยทางใด |
|
|
 |
 |
 |