 |
 |
 |
|
 |
 |
|
 |
สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเป็นหนึ่งในความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่นอกจากจะกระทบต่อระบบการค้าการลงทุนของโลกแล้ว ยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขับเคลื่อนพลังงานสะอาดของโลกอีกด้วย จากประเด็นการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เช่น แผงโซลาร์และส่วนประกอบ ซึ่งสหรัฐฯ เริ่มเก็บภาษีนำเข้าจากจีนในอัตรา 25-30% ตั้งแต่ปี 2561 การเก็บภาษีดังกล่าวทำให้ต้นทุนการผลิตและราคาของพลังงานสะอาดในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นและกระทบต่อความต้องการใช้พลังงานสะอาดในประเทศ โดยจากงานวิจัยของ S. Houde และ W. Wang ในปี 2565 พบว่า การกำหนดภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น 1 ดอลลาร์สหรัฐจะทำให้ราคารวมทั้งหมดของระบบโซลาร์หลังติดตั้งในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1.34 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เมื่อเดือนกันยายน 2567 สหรัฐฯ ได้เก็บภาษีนำเข้าแผงโซลาร์และส่วนประกอบจากจีนเพิ่มขึ้นเป็น 50% อีกทั้งยังเพิ่มภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจาก 27.5% เป็น 102.5% และแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเพิ่มขึ้นจาก 7.5% เป็น 25% การขึ้นภาษีดังกล่าวไม่เพียงส่งผลกระทบต่อต้นทุนและราคาของพลังงานสะอาด แต่ยังเป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันในการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดจากนโยบายที่เน้นการปกป้องตลาดในประเทศ |
|
|
 |
 |
 |
|
 |
 |
|
 |
สถานการณ์ความขัดแย้งในภูมิภาคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อเส้นทางเดินเรือและเส้นทางการบินซึ่งเปรียบเสมือน
เส้นเลือดใหญ่ของการค้าและการเดินทางระหว่างประเทศ ทำให้มีการใช้เชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นในการเปลี่ยนเส้นทางขนส่ง โดยเฉพาะความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ส่งผลกระทบต่อการเดินเรือในทะเลแดง ทำให้เรือขนส่งสินค้าส่วนหนึ่ง
ที่เดินทางจากเอเชียไปยุโรปต้องเปลี่ยนไปใช้เส้นทางอ้อมทวีปแอฟริกาผ่านแหลมกู๊ดโฮปแทนการผ่านคลองสุเอซ
เพื่อความปลอดภัย ซึ่งมีระยะทางไกลขึ้นกว่า 6,000 กิโลเมตร และใช้เวลาในการเดินเรือเพิ่มขึ้น 7-10 วัน ซึ่งการเดินเรือ
ที่นานขึ้นนอกจากทำให้ต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นจากการใช้
เชื้อเพลิงที่มากขึ้นอีกด้วย ขณะที่ข้อมูลจาก Time Magazine เมื่อเดือนมกราคม 2567 ระบุว่า การเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือ
เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในตะวันออกกลางส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นวันละ 162,727 ตัน
ส่วนสงครามรัสเซีย-ยูเครนก็ส่งผลกระทบต่อเส้นทางการบิน เนื่องจากมีการปิดน่านฟ้าเหนือรัสเซียและยูเครน ซึ่งบังคับให้เที่ยวบินระหว่างเอเชียและยุโรปต้องบินอ้อมเพื่อเปลี่ยนเส้นทาง ส่งผลให้ระยะเวลาบินเพิ่มขึ้นราว 1-4 ชั่วโมง
ต่อเที่ยวบิน ทำให้ต้องใช้เชื้อเพลิงอากาศยานเพิ่มขึ้นเช่นกัน |
|
|
 |
 |
 |
|
 |
 |
|
 |
สถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในหลายภูมิภาคทั่วโลกส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนในโครงการพลังงานสะอาด โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น โครงการ Trans-Caspian Electricity Project ซึ่งเป็นโครงการสายส่งไฟฟ้าใต้ทะเลจากประเทศในเอเชียกลางผ่านทะเลแคสเปียนไปยังประเทศในยุโรป โดยมีเป้าหมายสนับสนุนการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคด้วยความร่วมมือจากหลายประเทศ อาทิ เติร์กเมนิสถาน อาเซอร์ไบจาน และประเทศในยุโรป อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ต้องเผชิญความท้าทายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศชายฝั่งทะเลแคสเปียน และปัญหาสิทธิ์ในการเข้าถึงพื้นที่ก่อสร้างโครงการ ซึ่งส่งผลให้การพัฒนาโครงการต้องชะลอออกไป นอกจากนี้ ยังมีโครงการ Desertec ซึ่งเป็นแผนก่อสร้างโครงข่ายพลังงานแสงอาทิตย์และพลังลมในทะเลทรายซาฮารา มูลค่าลงทุนสูงถึง 4 แสนล้านยูโร เพื่อส่งไฟฟ้าไปยังประเทศในแอฟริกาเหนือและยุโรป อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ต้องเผชิญปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมืองของบางประเทศในแอฟริกาเหนือ และความขัดแย้งระหว่างบางประเทศในภูมิภาค เช่น โมร็อกโกและแอลจีเรีย รวมถึงปัญหาด้านเม็ดเงินลงทุนและการสนับสนุนจากรัฐบาลในยุโรป ทำให้การพัฒนาโครงการต้องชะลอออกไป |
|
|
 |
 |
|
จะเห็นได้ว่า โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตซ้อนวิกฤต เมื่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถูกซ้ำเติมด้วยความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำของโลกเผชิญความท้าทายมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องแสดงความรับผิดชอบให้มากกว่าเดิมด้วยการเร่งลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อชดเชยความเสียหายที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน |
|
|