ตลาดผู้บริโภคในออสเตรเลีย  
           ออสเตรเลียเป็นประเทศคู่ค้าของไทยที่ทวีความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ สังเกตได้จากมูลค่าส่งออกสินค้าไทยไป
ออสเตรเลียที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 15 ต่อปีในช่วงปี 2550-2554 และล่าสุดออสเตรเลียเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 8 ของไทย ด้วยมูลค่าส่งออกที่สูงราว 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 ดังนั้น ท่ามกลาง
สถานการณ์ตลาดส่งออกหลักที่ผันผวนจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวล่าช้าและปัญหาหนี้สาธารณะของหลายประเทศ
ใน EU ยังไม่มีทีท่ายุติลงในระยะเวลาอันใกล้ ออสเตรเลียจึงเป็นตลาดส่งออกที่น่าสนใจ
         ทั้งนี้ ศักยภาพของตลาดออสเตรเลียที่ดึงดูดให้ผู้ผลิตสินค้าจากทั่วทุกมุมโลกเข้าไปแสวงหาโอกาสและลู่ทาง
ขยายตลาดในออสเตรเลีย มีดังนี้
          เศรษฐกิจออสเตรเลียขยายตัวดีต่อเนื่อง จากข้อมูลของ EIU คาดว่าออสเตรเลียจะมีอัตราขยายตัวทาง
เศรษฐกิจร้อยละ 3.2 ในปี 2555 และคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.3 ต่อปีในช่วง 2555-2559 ทั้งนี้ เศรษฐกิจที่
ขยายตัวดีต่อเนื่องส่งผลให้ชาวออสเตรเลียมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
          ออสเตรเลียเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง ด้วยรายได้ต่อคนต่อปี (GDP per Capita) สูงถึง 68,590 ดอลลาร์
สหรัฐในปี 2555 ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่สูงกว่าประเทศคู่ค้าสำคัญอื่นๆ ของไทย
          ออสเตรเลียมีชาวเอเชียที่มีกำลังซื้ออยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน อินเดีย และเวียดนาม
อพยพ อีกทั้งหลายประเทศในแถบเอเชียนิยมส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อในออสเตรเลีย ทั้งนี้ ชาวเอเชียที่อาศัยใน
ออสเตรเลียมีวัฒนธรรมการบริโภคไม่ต่างจากไทยมากนัก จึงเป็นโอกาสส่งออกสินค้าไทยไปออสเตรเลีย โดยเฉพาะ
สินค้าอาหาร
 
  คาดการณ์ GDP per Capita ปี 2555  
  ที่มา : Economist Intelligence Unit (EIU)  
           ตลาดผู้บริโภคในออสเตรเลีย
         การศึกษาและทำความเข้าใจถึงโครงสร้างประชากร วิถีการดำเนินชีวิต รสนิยมการบริโภค และการเลือกซื้อ
สินค้าของชาวออสเตรเลีย จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถวางกลยุทธ์การผลิตและส่งออกสินค้าให้สอดคล้อง
กับความต้องการของลูกค้าในออสเตรเลียได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวโน้มตลาดผู้บริโภคใน
ออสเตรเลียมีดังนี้
 
  โครงสร้างประชากรของออสเตรเลีย  
  ที่มา : United Nation  
            หนุ่มสาววัยเริ่มต้นทำงานเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่สำคัญ ชาวออสเตรเลียราวร้อยละ 60 อยู่ในวัยทำงานที่มี
กำลังซื้อ (อายุ 20-64 ปี) ในจำนวนนี้ผู้มีอายุระหว่าง 20-39 ปีมีสัดส่วนราวครึ่งหนึ่งของประชากรวัยแรงงานทั้งหมด
 
     
  เครื่องปรุงรสอาหารไทยที่จำหน่าย
ในออสเตรเลีย
 
  เกร็ดน่ารู้ : ปัจจุบันออสเตรเลีย
อนุญาตให้นำเข้าผักและผลไม้
สำคัญจากไทย
แบ่งเป็นผักสด
2 ชนิด
ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง และ
ข้าวโพดอ่อน และผลไม้สด 6 ชนิด
ได้แก่ ทุเรียนแกะเปลือก ส้มโอ
แกะเปลือก มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ และ
มะพร้าวอ่อน
 
  เป็นที่น่าสังเกตว่าหนุ่มสาววัยเริ่มต้นทำงานชาวออสเตรเลียนิยมสังสรรค์
กับกลุ่มเพื่อนสนิทในช่วงหลังเลิกงาน หรือพบปะกับสมาชิกครอบครัวใน
วันหยุดสุดสัปดาห์ตามร้านอาหาร โดยร้านอาหารไทยเป็นหนึ่งในทางเลือก
ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในออสเตรเลีย เพราะอาหารไทยมีรสชาติ
เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีรายการอาหารให้เลือกรับประทานหลากหลาย
และมีสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นส่วนประกอบสำคัญเข้ากับ
กระแสตื่นตัวในการดูแลสุขภาพในปัจจุบัน จึงเอื้อให้เกิดการบริโภคอาหาร
ไทย และเป็นโอกาสต่อเนื่อง ในการส่งออกวัตถุดิบสำหรับใช้ปรุงอาหาร
โดยเฉพาะเครื่องปรุงรส อาทิ น้ำปลา ซอสปรุงรสทำจากถั่วเหลือง
ซอสหอยนางรม ซอสพริก น้ำพริกเผา น้ำจิ้มไก่ กะทิบรรจุกล่อง และ
ผงปรุงรสสำเร็จรูปชนิดก้อนหรือบรรจุซอง ที่ใช้ปรุงอาหารให้มีรสชาติ
ตามรายการอาหารไทยยอดนิยม อาทิ ผงปรุงรสต้มยำ กะเพรา และพะโล้
เป็นต้น นอกจากนี้ ผลไม้ไทยยังเป็นที่ชื่นชอบในกลุ่มชาวจีนอพยพใน
ออสเตรเลีย และแม้ว่าออสเตรเลียสามารถปลูกผลไม้บางชนิดได้
คล้ายคลึงกับไทย แต่ยังมีคุณภาพและรสชาติไม่ดีเท่าผลไม้ไทย จึงเป็น
โอกาสส่งออกผลไม้ไทย โดยเฉพาะทุเรียน ส้มโอ มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ และ
มะพร้าวอ่อน
            ชาวออสเตรเลียอาศัยหนาแน่นในเมืองใหญ่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการบริโภค เนื่องจาก
ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ตามเมืองใหญ่ โดยเฉพาะ Sydney, Melbourne, Brisbane, Perth และ Adelaide ซึ่งเป็นเมืองธุรกิจและเมืองการศึกษาที่สำคัญ ทำให้ผู้บริโภคชาวออสเตรเลียที่อาศัยอยู่หนาแน่นในพื้นที่
ดังกล่าวมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ผู้บริโภคส่วนหนึ่งจึงหันมาเลือกซื้ออาหารปรุงสุกพร้อมรับประทาน (Ready to Eat)
 
 
  เกร็ดน่ารู้ : ปัจจุบันผู้บริโภคชาว
ออสเตรเลียที่มีรูปแบบการใช้ชีวิต
เร่งรีบในเมืองใหญ่และหันมาใส่ใจ
ดูแลสุขภาพมากขึ้น นิยมมองหาคำว่า
Microwaveable, Quick หรือ
Low Fat
” บนซอง/กล่อง/หีบห่อ
อาหารปรุงสุกพร้อมรับประทาน ก่อน
ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า
 
 
  แทนการซื้ออาหารสดไปประกอบอาหารรับประทานที่บ้าน โดยเฉพาะ
ปลาทูน่ากระป๋องพร้อมรับประทาน
ที่ปรุงรสชาติตามรายการอาหาร
ไทย เช่น มัสมั่นทูน่า ทูน่าผัดพริกและแกงเขียวหวานทูน่า นอกจากนี้
การที่ชาวออสเตรเลียหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น จึงหันมาดื่มเครื่องดื่ม
ที่มีส่วนผสมพิเศษ
(Functional Drink) เช่นเครื่องดื่มที่มีโปรตีน
เป็นส่วนผสม เพื่อบำรุงร่างกายแทนการดื่มน้ำอัดลมที่มีน้ำตาลสูงเป็น
ส่วนผสม ขณะที่ปัจจุบันสินค้าประเภทดังกล่าวหลายรายการของไทยมี
การพัฒนามากขึ้น จึงเป็นโอกาสดีในการเจาะตลาดสินค้าดังกล่าว
 
            ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับออสเตรเลียมีแนวโน้มขยายตัวดี ทั้งนี้ Euromonitor คาดว่ายอด
จำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับของออสเตรเลียจะมีมูลค่าราว 1.28 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในปี 2555 และ
คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 1.33 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในปี 2557 ด้วยแรงหนุนสำคัญจากเศรษฐกิจของ
ออสเตรเลียที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทำให้ชาวออสเตรเลียมีกำลังซื้อและใช้จ่ายเงินส่วนหนึ่งสำหรับการซื้ออัญมณี
 
 
  เครื่องประดับที่กำลังได้รับความนิยม
ในออสเตรเลีย
 
  ที่มา : สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณี
และเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์กร
มหาชน)
 
  และเครื่องประดับ อีกทั้งสุภาพสตรีชาวออสเตรเลียมีค่านิยมสวมใส่อัญมณี
และเครื่องประดับเป็นเรื่องปกติ เพื่อเสริมบุคลิกภาพ มากกว่ามองเป็น
สินค้าฟุ่มเฟือยและมักเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับเป็นรางวัลให้กับ
การทุ่มเททำงานหนัก ทำให้ยอดจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับของ
ออสเตรเลียมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง ทั้งนี้ ชาวออสเตรเลียมีรสนิยม
การเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับที่ออกแบบชิ้นงานให้สามารถสวมใส่
ได้หลากหลายโอกาส เช่น สามารถใส่เข้ากับชุดทำงาน หรือใช้สวมใส่ได้
กับชุดลำลอง
   
            ความต้องการชิ้นส่วนรถยนต์ในออสเตรเลียมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากอุตสาหกรรมชิ้นส่วน
รถยนต์ในออสเตรเลียยังไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนป้อนได้ทันกับการขยายตัวของตลาด ทำให้ออสเตรเลียต้องพึ่งพา
การนำเข้าชิ้นส่วนเป็นหลัก และมีแนวโน้มนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี สังเกตได้จากมูลค่านำเข้าชิ้นส่วนในช่วงปี 2550-2554
เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ต่อปี อีกทั้งออสเตรเลียมีพื้นที่กว้างขวาง มีทั้งส่วนที่เป็นภูเขาและพื้นที่ทุรกันดารในเขตทะเลทราย
ทำให้อายุการใช้งานของรถยนต์สั้นลง และจำเป็นต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนบ่อยครั้งขึ้น ทั้งนี้ การที่ชาวออสเตรเลียเลือก
ซื้อชิ้นส่วนโดยคำนึงถึงคุณภาพ ความคงทน และความคุ้มค่าเป็นเกณฑ์ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ทำให้ไทยมีโอกาส
ส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อใช้เป็นอะไหล่ทดแทน (Replacement Equipment Manufacturing : REM) โดยเฉพาะ
ระบบเบรก เกียร์รถยนต์ ยางล้อรถยนต์ แบตเตอรี่ อุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ ไปออสเตรเลียเพิ่มขึ้น
          ชาวออสเตรเลียตื่นตัวกับกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ชาวออสเตรเลียหันมาเลือกซื้อเครื่องใช้
ไฟฟ้าที่
ผ่านการผลิตด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly) โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และตู้แช่แข็ง ตู้แช่ไวน์ ที่ใช้สารทำความเย็นที่ไม่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนในกระบวนการผลิต อาทิ Non CFC
R410 และ Non CFC R407 ทดแทนสาร CFC และนิยมรุ่นที่ติดตั้งเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยประหยัดการใช้กระแสไฟฟ้า
          ชาวออสเตรเลียนิยมเลือกซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต และห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ โดยเฉพาะซูเปอร์
มาร์เก็ต
Woolworths และ Coles เนื่องจากเป็นศูนย์รวมสินค้าอาหารสด อาหารแช่เย็นแช่แข็ง ผัก ผลไม้ และ
สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และมีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ ขณะที่นิยมเลือกซื้อ
เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ BigW, Target และ Kmart เพราะเป็นที่รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า
หลากหลายแบรนด์ที่มีชื่อเสียง สามารถเปรียบเทียบราคาและคุณภาพได้ง่าย ดังนั้น การกระจายสินค้าผ่านซูเปอร์
มาร์เก็ตหรือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ต่างๆ ดังกล่าวจะมีส่วนช่วยกระตุ้นยอดจำหน่ายสินค้าได้ระดับหนึ่ง
 
  ซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดังของออสเตรเลีย  
            ชาวออสเตรเลียนิยมเลือกซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดย IBISWorld (บริษัทวิจัยด้านการ
ตลาดที่มีชื่อเสียงของโลก) คาดว่ายอดจำหน่ายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตของออสเตรเลียจะพุ่งแตะระดับ 2.3 หมื่น
ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2557 เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 เทียบกับปี 2552 ตามการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้การ
สั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตมีมากขึ้น เพราะสะดวก สามารถสั่งซื้อสินค้าได้จากที่บ้านหรือที่ทำงาน เปรียบเทียบ
ราคาสินค้าได้ง่าย และทราบถึงความคิดเห็นของผู้ที่เคยซื้อสินค้าไปทดลองใช้ก่อนหน้า ดังนั้น การมีเว็บไซต์
ร้านจำหน่ายสินค้าและการโฆษณาสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตจึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการจำหน่ายสินค้าที่เข้าถึง
ผู้บริโภคชาวออสเตรเลียได้แพร่หลายมากขึ้น
         แม้ตลาดออสเตรเลียจะเป็นโอกาสของสินค้าส่งออกของไทยหลายชนิด แต่ก็มีอุปสรรคและข้อจำกัดสำคัญ
อยู่พอสมควร อาทิ ออสเตรเลียเข้มงวดกับการตรวจสอบสินค้านำเข้า โดยเฉพาะผักและผลไม้นำเข้า ซึ่งต้อง
ผ่านการตรวจมาตรฐานสุขอนามัย (Bio Security Quarantine Measures) อย่างเข้มงวด อีกทั้งเมืองสำคัญที่เป็น
แหล่งจำหน่ายสินค้ามีระยะทางห่างกัน
เนื่องจากออสเตรเลียมีพื้นที่กว้างใหญ่ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งและ
จำหน่ายสินค้าที่เน่าเสียง่าย ทำให้ผู้ส่งออกต้องเผชิญกับต้นทุนค่าขนส่งในระดับสูง นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังมี
การรณรงค์ให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศ
(Australian Made) โดยเฉพาะสินค้าเกษตรจำพวกผัก
และผลไม้ที่ผลิตได้ในท้องถิ่น ดังนั้น ผู้ที่เริ่มเข้าสู่ตลาดออสเตรเลียจึงควรมีการวางแผนการผลิตและส่งออกอย่าง
เป็นระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมและลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจในตลาดแห่งนี้
 
  Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไป
เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้นโดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่
รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด
 
  ภาพประกอบมาจาก www.google.com
การเผยแพร่ภาพนี้เพื่อแนะนำข้อมูลด้านการค้าและการลงทุนในต่างประเทศ