เกาะติดโอกาสทางธุรกิจบนเส้นทาง
สะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 4

 
   
           โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 4 (เชียงราย-บ่อแก้ว) มูลค่า 1,486.5 ล้านบาทเป็น
ส่วนหนึ่งของการพัฒนาเส้นทางคมนาคมภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater
Mekong Subregion : GMS) และเป็นสะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งใหม่ ซึ่งก่อสร้างเพิ่มจากเดิมที่มีอยู่แล้ว
3 แห่ง คือ สะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) สะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่ง
ที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) และสะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) จากความร่วมมือ
ของ 3 ประเทศ คือ ไทย จีน และ สปป.ลาว ตามแผนการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบกในแนวระเบียง
เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor : NSEC) เพื่อช่วยพัฒนาเส้นทางคมนาคมระหว่างไทยกับ
สปป.ลาว ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น อันจะช่วยเกื้อหนุนการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ รวมทั้ง
สนับสนุนการก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558
นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายถนนจากภาคเหนือของไทยผ่าน สปป.ลาว ไปยังนครคุนหมิง เมืองหลวง
ของมณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีนและเป็นตลาดการค้าที่น่าสนใจ ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่าการเปิดใช้สะพาน
ดังกล่าวอย่างเป็นทางการจะช่วยขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการไทยได้อีกมาก

         ที่ตั้งและความคืบหน้าของโครงการ
         ที่ตั้งโครงการ ตั้งอยู่ระหว่างบ้านดอนมหาวัน อ.เชียงของ จ.เชียงรายของไทย กับบ้านดอน เมือง
ห้วยทราย แขวงบ่อแก้วของ สปป.ลาว ตัวสะพานมีถนน 2 ช่องจราจร ระยะทาง 2.48 กิโลเมตร
 
  ที่มา : - กรมทางหลวง
 
    - สำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ  
           ความคืบหน้าของโครงการ ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จราวร้อยละ 95 ของทั้งโครงการ มีกำหนดเปิดใช้
สะพานอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 ธันวาคม 2556

         สะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 4 : ขยายโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการไทย
         นอกจากเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ให้คล่องตัวยิ่งขึ้นแล้ว สะพานมิตรภาพไทย-สปป.
ลาว แห่งที่ 4 ยังช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้นในการขนส่งสินค้าจากไทยไปสู่ตลาดจีนตอนใต้ รวมทั้งกระตุ้นการ
ท่องเที่ยวตามเส้นทางดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายการคมนาคมใน GMS และการเชื่อมโยงระหว่าง
ภูมิภาคอาเซียนกับจีนตอนใต้ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
         โอกาสขยายการค้าสู่ตลาดจีนตอนใต้ การเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 4 จะเป็น
จุดเชื่อมต่อที่สำคัญบนเส้นทางหมายเลข 3A (R3A) ซึ่งเป็นเส้นทางเศรษฐกิจสำคัญในการคมนาคมขนส่งทางบก
จากไทยสู่ตลาดจีนตอนใต้ในมณฑลยูนนานให้มีความสะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้น เนื่องจากไม่ต้องขนถ่ายสินค้า
ข้ามแพขนานยนต์เพื่อขนส่งข้ามแม่น้ำโขง อันจะช่วยรักษาความสดใหม่ของผลไม้ไทยที่ขนส่งผ่านเส้นทางดังกล่าว
อีกทั้งยังมีส่วนช่วยกระตุ้นการค้าผ่านแดนระหว่างไทยและจีนตอนใต้ผ่านด่านเชียงของ จ.เชียงราย ให้เติบโตจาก
มูลค่าการค้าในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 7,784 ล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 25 ของมูลค่าการค้าผ่านแดนระหว่างไทยและจีน
ตอนใต้) โดยเฉพาะการส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าอุปโภคบริโภค และผลไม้ เช่น มังคุด มะขาม กล้วย ลำไยแห้ง
และทุเรียน เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไป สปป.ลาว และจีนตอนใต้
 
  ที่มา : - กรมทางหลวง
 
    - สำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ  
           ทั้งนี้ การขนส่งผ่านเส้นทาง R3A เริ่มต้นจาก อ.เมืองเชียงราย ไปทาง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ข้ามสะพาน
มิตรภาพฯ แห่งที่ 4 ที่ อ.เชียงของ ไปเชื่อมกับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ใน สปป.ลาว ผ่านเมืองบ่อเต็น แขวง
หลวงน้ำทา ซึ่งติดกับชายแดนจีนตอนใต้ที่ด่านบ่อหานในมณฑลยูนนาน ต่อไปยังเมืองเชียงรุ่ง และเข้าสู่นครคุนหมิง
รวมระยะทางราว 1,200 กิโลเมตร โดยนครคุนหมิงมีเครือข่ายคมนาคมพร้อมรองรับการกระจายสินค้าต่อไปยัง
มณฑลตอนในของจีน อาทิ เทศบาลนครฉงชิ่ง และเมืองเฉิงตูในมณฑลเสฉวน ซึ่งผู้บริโภคล้วนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ขณะที่การแข่งขันยังไม่รุนแรงนัก จึงเป็นตลาดการค้าที่น่าสนใจของไทย
         โอกาสของธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง สะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 4 จะมี
ส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางและกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ ธุรกิจบริการ
นำเที่ยว ร้านอาหารไทย เป็นต้น ตามเส้นทางที่เชื่อมต่อถึงกัน ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแหล่ง
ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมที่น่าสนใจหลายแห่งที่มีศักยภาพในการรองรับธุรกิจท่องเที่ยวและ
บริการที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ หมู่บ้านอนุรักษ์วัฒนธรรมไทลื้อ วัดหลวงบ้านเชียงใจ และพระธาตุเมืองสิงห์ ในแขวง
หลวงน้ำทา วัดหลวงเมืองลื้อ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในเมืองเชียงรุ่ง และเมืองโบราณลี่เจียงสถานที่ท่องเที่ยว
อันเป็นมรดกโลกที่เลื่องชื่อของมณฑลยูนนาน เป็นต้น นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวใน จ.เชียงราย ยังมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีนตอนใต้ และ สปป.ลาว ซึ่งมีกำลังซื้อเพิ่มสูงขึ้นตามระดับการพัฒนาประเทศ
อันจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ จ.เชียงราย ในระยะถัดไป
         แม้ว่าการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 4 จะสร้างโอกาสทางการค้าโดยช่วยให้การขนส่ง
สินค้าจากไทยไปจีนสะดวกรวดเร็วขึ้น แต่ในทางกลับกันก็เป็นโอกาสให้สินค้าราคาถูกจากจีน เช่น กระเทียม
หอมแดงและหอมใหญ่ รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า อาจทะลักเข้ามาตีตลาดสินค้าไทยผ่านเส้นทางดังกล่าว ซึ่งเป็น
ความท้าทายที่ผู้ประกอบไทยควรเตรียมรับมือเช่นกัน
 
  Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไป
เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่
รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด
 
  ภาพประกอบจาก www.google.co.th การเผยแพร่ภาพนี้เพื่อแนะนำข้อมูลด้านการค้าและการลงทุนในต่างประเทศ