เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา…
แหล่งรองรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของพม่า

 
   
            ปัจจุบันรัฐบาลพม่ากำลังเร่งผลักดันดำเนินการ
จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economics
Zones: SEZs) ในประเทศ 3 แห่ง คือ เขตเศรษฐกิจ
พิเศษติละวา (Thilawa SEZ) เขตเศรษฐกิจพิเศษ
ทวาย (Dawei SEZ) และเขตเศรษฐกิจเจ้าผิว
(Kyaukphyu SEZ) ให้สำเร็จลุล่วงก่อนก้าวสู่การเป็น
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic
Community: AEC) ในปี 2558 เพื่อเร่งการสร้างงาน
และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้
เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวากำลังเป็นที่สนใจและเป็นที่
จับตามองจากนักลงทุนต่างชาติในฐานะแหล่งรองรับ
โครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Projects) อีกทั้ง
ยังเป็นโครงการที่มีการดำเนินการคืบหน้ามากที่สุด
เทียบกับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่ประสบปัญหา
ความล่าช้าของโครงการและปัญหาด้านเงินทุน จน
ทางการพม่าต้องปรับแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจทวาย
ใหม่ ส่วนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวซึ่ง
มุ่งเน้นการเชื่อมโยงกับจีนยังไม่มีความชัดเจนนัก
ด้านหลักเกณฑ์การลงทุน

          ภาพรวมของเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา
 
           เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาครอบคลุมพื้นที่
2,400 เฮกตาร์ (ประมาณ 1.5 หมื่นไร่) ตั้งอยู่ระหว่าง
  ที่มา : กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย  
  เขตThanlyin และเขต Kyauktan ใกล้กับ เมืองย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของพม่าและเป็นเมืองหลวงเก่า โดย
อยู่ห่างจากเมืองย่างกุ้งไปทางใต้เพียง 25 กิโลเมตร จึงเหมาะกับการเป็นฐานการผลิตใหม่เพราะใกล้พื้นที่เศรษฐกิจ
หลัก รวมทั้งเป็นศูนย์กระจายสินค้าและศูนย์กลางการขนส่ง ทั้งนี้ การดำเนินการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวามีขึ้น
หลังจากรัฐบาลพม่าและรัฐบาลญี่ปุ่นได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจที่จะร่วมกันพัฒนาโครงการเมื่อเดือนธันวาคม
2555 โดยเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลพม่าซึ่งถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 51 และบริษัทเอกชนญี่ปุ่น 3 แห่ง คือ
บริษัท Mitsubishi Corp. บริษัท Marubeni Corp. และบริษัท Sumitomo Corp. ซึ่งถือหุ้นรวมกันในส่วนที่เหลือ
อีกร้อยละ 49 นับเป็นโครงการนำร่องขนาดใหญ่ด้านการลงทุนของญี่ปุ่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกลับเข้ามามีบทบาท
อีกครั้งในพม่า โดยรัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนการพัฒนาโครงการนี้อย่างเต็มที่ทั้งการสนับสนุนด้านการเงินและ
การจัดหาแหล่งเงินทุน ในการนี้ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมทุนจัดตั้งบริษัท Myanmar Japan Thilawa Development Ltd.
(MJTD) เพื่อเข้ามาบริหารจัดการโครงการ
          โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาเริ่มก่อสร้างพื้นที่ Class A ซึ่งถือเป็นการก่อสร้างเฟสแรกเมื่อเดือน
พฤศจิกายน 2556 โดยมีการจัดทำผังการใช้ประโยชน์ที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ระบบระบายน้ำ ระบบ
กำจัดของเสีย ไฟฟ้า ไว้อย่างชัดเจน ครอบคลุมพื้นที่ 400 เฮกตาร์ (ราว 2,500 ไร่) คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558
ซึ่งเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จพื้นที่ Class A จะประกอบไปด้วยพื้นที่อุตสาหกรรมซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานและเป็น
พื้นที่หลักของโครงการ รายล้อมไปด้วยที่อยู่อาศัยและพื้นที่เชิงพาณิชย์ อาทิ ท่าเทียบเรือ พื้นที่วางตู้คอนเทนเนอร์
ศูนย์วิจัยและพัฒนา ซูเปอร์มาร์เก็ต โรงเรียนนานาชาติ โรงพยาบาล ศูนย์นันทนาการ ฯลฯ นอกจากนี้ ภายในพื้นที่
Class A ยังแบ่งเป็นเขต Exempted Zone และเขต Promotion Zone ซึ่งนักลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์
แตกต่างกัน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกจะตั้งอยู่ภายในเขต Exempted Zone ขณะที่อุตสาหกรรม
การผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศจะตั้งอยู่ในเขต Promotion Zone

          สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา
          เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2557 รัฐบาลพม่าได้ประกาศใช้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic
Zone Law: SEZ Law) ฉบับใหม่ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวรองรับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 3 แห่ง ซึ่งรวมถึง
เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา โดยรัฐบาลพม่าประกาศใช้กฎหมายฉบับใหม่เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้
เข้ามาในพม่ามากขึ้น ซึ่งภายใต้ SEZ Law ฉบับใหม่ได้ปรับกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน
ต่างชาติ รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนแก่นักลงทุนต่างชาติมากขึ้น ทั้งนี้ การประกาศใช้ SEZ Law
ฉบับใหม่ทำให้ SEZ Law ปี 2554 และกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dewai SEZ Law) ปี 2554 ถูกยกเลิก
สำหรับสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนสำหรับนักลงทุนต่างชาติภายใต้ SEZ Law ฉบับใหม่ มีรายละเอียดที่น่าสนใจ
ดังนี้
 
            โครงการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา
          
เป็นที่คาดว่าการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาส่วนใหญ่จะเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อรองรับการ
ผลิตในอุตสาหกรรมไฮเทค อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก และอุตสาหกรรมการผลิต
โดยในช่วงต้นปี 2556 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของพม่า (Myanmar Investment Commission: MIC) ได้
อนุมัติโครงการลงทุนของบริษัท Suzuki Motor บริษัทผลิตรถจักรยานยนต์ของญี่ปุ่นให้เข้ามาตั้งฐานการผลิตใน
เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา ล่าสุดบริษัทต่างชาติทั้งหมด 45 บริษัทจาก 11 ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สหภาพ
ยุโรป สหรัฐฯ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ได้ยื่นข้อเสนอโครงการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวากับ MIC แล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นบริษัทผลิตเสื้อผ้า บริษัทผลิตอาหารและเครื่องดื่ม บริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า บริษัทผลิต
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในห้องน้ำ และบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
          แม้ว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาจะมีขนาดเล็กกว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย แต่นักวิเคราะห์มองว่ามีศักยภาพ
เหนือกว่าโครงการทวายในหลายด้าน โดยเฉพาะทำเลที่ตั้งที่อยู่ใกล้กับเมืองย่างกุ้ง และยังสามารถเชื่อมโยงกับ
ท่าเรือที่ปากแม่น้ำย่างกุ้งได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมองว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาจะเป็นฐานการผลิตสินค้า
สำคัญสำหรับทั้งการส่งออกและตอบสนองความต้องการของตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุน
โดยตรงจากต่างประเทศที่สำคัญของพม่า ขณะเดียวกันการพัฒนาโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาไม่เพียงแต่
เป็นการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่
อีกด้วย
 
  Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไป
เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่
รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด